เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
สัตวแพทย์ซีพีเอฟ แนะนำเทคนิคการเลี้ยงสัตว์ในฤดูร้อนรับมือภัยแล้ง
24 ม.ค. 2563
สัตวแพทย์ซีพีเอฟ แนะนำเทคนิคการเลี้ยงสัตว์ในฤดูร้อนรับมือภัยแล้ง

ซีพีเอฟ แนะนำให้เกษตรกรได้ปรับวิธีการเลี้ยง และเน้นดูแลสุขภาพสัตว์และโรงเรือน เพื่อลดความเครียดของสัตว์และป้องกันความเสียหายต่อฝูงสัตว์ จากภัยแล้ง

 

 

น.สพ.นรินทร์ ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ศูนย์วินิจฉัยโรคสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ปิดเผยว่า ปีนี้เป็นปีที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า คาดการณ์ว่าประเทศไทยต้องเผชิญภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี นับแต่ปี 2522 โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนบน ดังนั้น เกษตรกรจึงจำเป็นต้องเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการดูแลความเป็นอยู่ของสัตว์ให้เหมาะสม เพื่อให้สัตว์ไม่เจ็บป่วย และเกิดความเครียดสะสม

 

 

สำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อและไก่ไข่ ปกติจะต้องกินน้ำอย่างน้อย 2 เท่าของปริมาณอาหารที่กินในแต่ละวัน หากขาดน้ำเกินร้อยละ 20 ไก่จะกินอาหารลดลง เกิดภาวะเครียด อัตราการเจริญเติบโตต่ำ ผลผลิตและภูมิคุ้มกันโรคลด มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย กรณีที่ไก่ได้รับน้ำไม่เพียงพอสังเกตได้จากอาการที่แสดงออก เช่น อาการซึม แข้งไก่มีลักษณะแห้งจากสภาพแห้งน้ำ และหากไก่สูญเสียน้ำไปกว่า 1 ใน 10 ส่วนของน้ำที่มีอยู่ในร่างกาย จะทำให้ไก่ตายได้

 

 

นอกจากนี้ เกษตรกรต้องใส่ใจกับคุณภาพน้ำด้วย โดยทั่วไปน้ำที่ดีควรเป็นน้ำบาดาล หากจำเป็นต้องใช้น้ำผิวดินควรปรับคุณภาพน้ำก่อน หากน้ำขุ่นควรใช้สารส้ม 1 กรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร แกว่งน้ำให้ตกตะกอนก่อน และใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคที่ความเข้มข้น 3 - 5 ppm. (คลอรีน 3-5 ลิตร ต่อน้ำ 1 ล้านลิตร) จะช่วยป้องกันอาการท้องเสียในสัตว์ได้ ควบคู่กับการป้องกันโรคและสัตว์พาหะ ทั้งนก หนู แมลง ยุง และต้องเน้นการเปลี่ยนรองเท้าก่อนเข้าโรงเรือนเลี้ยงสัตว์แต่ละหลัง

 

 

“ในช่วงที่อากาศร้อนจัด เกษตรกรต้องหมั่นตรวจตราอย่าให้มีรอยรั่วของระบบอีแว็ปที่อากาศร้อนจากภายนอกจะผ่านเข้ามาได้ ทั้งนี้เกษตรกรสามารถใช้สเปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิลง แต่ต้องระวังอย่าให้พื้นแฉะและมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนียเพราะสัตว์จะยิ่งเครียดมากขึ้น” น.สพ.นรินทร์ กล่าว

 

 

ด้าน น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านธุรกิจสุกร ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุกรในฤดูแล้งและช่วงอากาศร้อนว่า เกษตรกรต้องดูแลสุขภาพสัตว์และการจัดการฟาร์มเป็นพิเศษ โดยสุกรในโรงเรือนระบบปิดปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ หรือระบบอีแวป เกษตรกรต้องควบคุมการทำงานของพัดลมให้เหมาะสม อย่าให้ร้อนเกินไป เพราะจะทำให้สัตว์เกิดความเครียด ควรปรับสภาพภายในโรงเรือนให้สัตว์อยู่สบาย รวมทั้งควรเตรียมเครื่องสำรองไฟและน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับกรณีไฟดับ เพื่อให้ระบบทำงานได้ตามปกติ

 

 

“เกษตรกรต้องสำรองน้ำกิน-น้ำใช้ให้เพียงพอต่อการบริโภคของสุกร โดยเฉพาะในฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์ จะต้องใช้น้ำทั้งกินและใช้เฉลี่ยวันละ 130 ลิตรต่อตัว และในช่วงที่อากาศร้อนจัด อาจต้องขังน้ำในรางอาหาร ส่วนฟาร์มสุกรขุน กินและใช้น้ำเฉลี่ยวันละ 40 ลิตรต่อตัว ควรเพิ่มรางน้ำให้สุกรกินอย่างเพียงพอและสะดวก ในโรงเรือนที่มีส้วมน้ำด้านท้ายคอกควรขังน้ำให้พอดี” น.สพ.ดำเนิน กล่าว

 

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x