อุณหภูมิพื้นผิวของโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างน้อย 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี พ.ศ. 2583 (ค.ศ. 2040) และหากไม่มีมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ อย่างเข้มข้นแล้วนั้น โลกจะร้อนขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ในระหว่างศตวรรษนี้เทียบกับช่วงปี พ.ศ. 2393-2443 (ค.ศ. 1850 - 1900)1 หรือก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้ ส่งผลกระทบเป็นที่ประจักษ์แล้วทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น พื้นที่ทำการเกษตรน้อยลง อุทกภัยและภัยแล้งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีความรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร ด้วยเหตุนี้ซีพีเอฟในฐานะผู้นำด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร จึงร่วมรับผิดชอบในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงมีการปรับตัวและวางมาตรการเชิงรุกเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อความยั่งยืนของระบบผลิตอาหารของโลก
- 1 Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC), Climate Change 2021: The Physical Science Basis, Working Group I Contribution to the Sixth Assessment Report (AR6) of the Intergovernmental Panel on Climate Change; October 2021.
แนวทางการบริหารจัดการ

การกำหนดนโยบายและมาตรฐาน
ดำเนินนโยบายและมาตรฐานการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ซีพีเอฟ (CPF SHE&En Standard) และตรวจประเมินตามมาตรฐานด้าน SHE&En ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมและการประเมินผลการดำเนินงาน โดยมีระบบติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงาน (SHE KPIs System) ตลอดทั้งปี

การตระหนักด้านความเสี่ยงและโอกาส
วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง ความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โอกาส และผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้น้ำและของเสีย พร้อมทั้งจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง

การบรรเทาผลกระทบด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี
คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยบรูณาการแนวคดิเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การสร้างการมีส่วนร่วม
ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เพื่อยกระดับการบริหารทรัพยากรและการจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับบริษัทและอุตสาหกรรม
ความมุ่งมั่น :
จำกัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดำเนินการจัดการพลังงาน ทรัพยากรน้ำและของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เป้าหมาย ปี 2568 :
- ร้อยละ 25 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อมต่อหน่วยการผลิตลดลง เมื่อเทียบกับปีฐาน 2558 (กิจการประเทศไทย)
- ร้อยละ 30 ของปริมาณการดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิต ลดลงเมื่อเทียบกับปีฐาน 2558 (กิจการประเทศไทย)
เป้าหมาย ปี 2573 :
- ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 200,000 ตัน จากการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ในพื้นที่ยุทธศาสตร์และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการ (กิจการประเทศไทย)
- ลดของเสียที่ถูกนำไปฝังกลบและเผาให้เป็นศูนย์
- กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ (Science-Based Target) (ขอบเขตที่ 1, 2 และ 3)
- สนับสนุนคู่ค้าธุรกิจทั้งหมด ที่ได้รับการระบุว่ามีผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำในระดับสูง เพื่อให้ดำเนินการจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ
ผลการดำเนินงาน ปี 2565 :
- ร้อยละ 23 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อมต่อหน่วยการผลิตลดลง เมื่อเทียบกับปีฐาน 2558 (กิจการประเทศไทย)
- ร้อยละ 53 ของปริมาณการดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิต ลดลงเมื่อเทียบกับปีฐาน 2558 (กิจการประเทศไทย)
- ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 26,502 ตัน จากการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ในพื้นที่ยุทธศาสตร์และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการ (กิจการประเทศไทย)
- ของเสียที่ถูกนำไปฝังกลบและเผา 17.2 พันตัน (กิจการประเทศไทย) และ 39.2 พันตัน (กิจการประเทศไทยและต่างประเทศ)
- บริษัทอยู่ในระหว่างการดำเนินการกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ (Science-Based Target) (ขอบเขตที่ 1, 2 และ 3)
- บริษัทอยู่ในระหว่างการดำเนินการสนับสนุนคู่ค้าธุรกิจทั้งหมด ที่ได้รับการระบุว่ามีผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำในระดับสูง เพื่อให้ดำเนินการจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ
การดำเนินการ