ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตของเรา ในทุกวันบรรจุภัณฑ์กว่าพันล้านชิ้นถูกนำมาใช้บรรจุสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภค แต่ในขณะเดียวกันหากเราไม่สามารถนำบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวกลับมาใช้ประโยชน์อีกได้ ปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์พลาสติกย่อมส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างแน่นอน ประมาณการกันว่าขยะพลาสติกส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมคิดเป็นเงินมูลค่ากว่า 40 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และหากเรายังคงใช้บรรจุภัณฑ์อย่างฟุ่มเฟือยภายในปี 2593 ปริมาณขยะพลาสติกในท้องทะเลรวมกันอาจมีน้ำหนักมากกว่าปลาทั้งหมดในท้องทะเล วิกฤตการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมนุษย์ในอนาคตอย่างแน่นอน อีกทั้งปัญหาขยะทะเลยังเป็นประเด็นสำคัญที่คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจ
แนวทางการบริหารจัดการ

นโยบายและแนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
จัดตั้งคณะทำงานบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และกำหนดแนวทางบริหารเพื่อให้บรรลุตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมทั้งติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
มุ่งมั่นพัฒนาการออกแบบและการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

การวิจัย พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์
คิดค้นและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคที่มีส่วนช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การสร้างความตระหนักรู้
สื่อสารและเสริมสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งต่อบุคลากรภายในองค์กรและผู้บริโภค

เครือข่ายความร่วมมือในการจัดการบรรจุภัณฑ์
ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ องค์กรอิสระ และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เพื่อยกระดับการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค
ความมุ่งมั่น :
พัฒนาบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
เป้าหมาย :
ร้อยละ 100 ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำมาใช้บรรจุอาหารสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือนำมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือนำไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ (Upcyclable) หรือสามารถย่อยสลายได้ (Compostable) ภายในปี 2568 สำหรับกิจการประเทศไทย และภายในปี 2573 สำหรับกิจการต่างประเทศ
ผลการดำเนินงานปี 2562 :
ร้อยละ 99.99 ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำมาใช้บรรจุอาหารสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือนำมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือนำไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ (Upcyclable) หรือสามารถย่อยสลายได้ (Compostable) ในกิจการประเทศไทย
การดำเนินการ