เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ระหว่างปี พ.ศ. 2513 - 2559 ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (The Living Planet Index: LPI) มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่ง ณ ปี พ.ศ. 2559 พบว่ามีค่าเฉลี่ยจำนวนประชากรสัตว์โลกลดลงถึงร้อยละ 68 ทรัพยากรป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร แหล่งพันธุกรรมเพื่อผลิตยารักษาโรค ที่อยู่อาศัยของสัตว์และแมลงผสมเกสร ถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการบุกรุกป่าเพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตร ปลูกพืชผลิตอาหารและเลี้ยงสัตว์ ประกอบกับการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี การเผาซากพืชไร่ ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพของโลกที่มีความสำคัญในการสนับสนุนระบบผลิตอาหารของมนุษย์สูญเสียไปทั่วโลก ผู้ผลิตอาหารและค้าปลีกจึงหันมาให้ความสำคัญกับการจัดหาวัตถุดิบที่ไม่มาจากแหล่งตัดไม้ทำลายป่า รวมถึงปราศจากแรงงานบังคับ

แนวทางบริหารจัดการ

การกำหนดนโยบายและการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ดำเนินงานตามความมุ่งมั่นว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและการต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า และแบ่งปันแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนแก่คู่ค้าธุรกิจผ่านนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ เพื่อสร้างพื้นฐานการดำเนินธุรกิจที่มั่นคงบนพื้นฐานของการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างเป็นระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน
การประเมินความเสี่ยงและการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน ประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานเป็นประจำทุกปี และสนับสนุนคู่ค้าธุรกิจใหม่ที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งยังตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจตามแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซอุปทานอย่างยั่งยืนของซีพีเอฟ
การตรวจสอบย้อนกลับวัตถุดิบหลัก สามารถตรวจสอบย้อนกลับที่มาของแหล่งวัตถุดิบหลักได้ ว่าไม่มาจากแหล่งตัดไม้ทำลายป่า ปราศจากแรงงานทาส แรงงานบังคับ และร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางบกและทะเล
การพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันที่ยั่งยืนร่วมกันกับคู่ค้าธุรกิจ ส่งเสริมการแบ่งปันองค์ความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี นวัตกรรม เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ ทั้งในด้านกระบวนการผลิตและการเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของคู่ค้าให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมการเกษตรและการประมงที่ไม่ทำร้ายความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ นำเทคโนโลยีไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนการจัดหาที่ยั่งยืนตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับสากล ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพทางบกและทะเล

ความมุ่งมั่น :

ดำเนินการจัดหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการจากคู่ค้าธุรกิจ ที่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึง
ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และสร้างการมีส่วนร่วมกับคู่ค้าธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานเพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

เป้าหมาย ปี 2573 :

  • ร้อยละ 100 ของวัตถุดิบหลักสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
  • เพิ่มพื้นที่อนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูในพื้นที่ยุทธศาสตร์ป่าชายเลน ป่าต้นน้ำและสถานประกอบการจำนวน 20,000 ไร่
  • ร้อยละ 100 ของวัตถุดิบหลักมาจากพื้นที่ที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า

ผลการดำเนินงาน ปี 2565 :

  • ร้อยละ 59 ของวัตถุดิบหลักสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (กิจการประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์)
  • เพิ่มพื้นที่อนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูในพื้นที่ยุทธศาสตร์ป่าชายเลน ป่าต้นน้ำและสถานประกอบการจำนวน 14,870 ไร่
  • ร้อยละ 23 ของวัตถุดิบหลักมาจากพื้นที่ที่ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า
การดำเนินการ
รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง
ดูโครงการ
ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน
ดูโครงการ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x