ซีพีเอฟได้ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสถานที่ดำเนินการของบริษัทรวม 351 แห่ง
ทั่วประเทศ ทั้งบนบกและทางทะเล โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เป็นเครื่องมือในการแสดงภาพและประเมินความใกล้เคียงกันของสถานประกอบการและพื้นที่ที่มีความหลายหลายทางชีวภาพหลักและพื้นที่ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งระบุจากเครื่องมือการประเมินความหลายหลายทางชีวภาพแบบบูรณาการ (IBAT) เช่น IUCN Red Lists แหล่งมรดกโลก พื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์ พื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ (KBA) และ แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทย ผลลัพธ์จากการประเมินช่วยให้ซีพีเอฟสามารถกำหนดแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (BMP) และช่วยให้บริษัทสามารถกำหนดขั้นตอนต่อไปสำหรับสถานที่ดำเนินการที่ใกล้กับพื้นที่สำคัญดังกล่าว
ทั่วประเทศ ทั้งบนบกและทางทะเล โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เป็นเครื่องมือในการแสดงภาพและประเมินความใกล้เคียงกันของสถานประกอบการและพื้นที่ที่มีความหลายหลายทางชีวภาพหลักและพื้นที่ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งระบุจากเครื่องมือการประเมินความหลายหลายทางชีวภาพแบบบูรณาการ (IBAT) เช่น IUCN Red Lists แหล่งมรดกโลก พื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์ พื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ (KBA) และ แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทย ผลลัพธ์จากการประเมินช่วยให้ซีพีเอฟสามารถกำหนดแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (BMP) และช่วยให้บริษัทสามารถกำหนดขั้นตอนต่อไปสำหรับสถานที่ดำเนินการที่ใกล้กับพื้นที่สำคัญดังกล่าว
ผลการวิจัยจากการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้านความหลายหลายทางชีวภาพที่สำคัญ แสดงให้เห็นว่า สถานที่ดำเนินการ 6 แห่ง จำเป็นต้องได้รับการประเมินเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าสถานที่ดำเนินการทั้ง 6 แห่งตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญหรือไม่
กรอบแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพเบื้องต้นได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอมาตรการการจัดการที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดซึ่งเหมาะสมกับประเภทของกิจกรรมการดำเนินเงินของสถานประกอบการของซีพีเอฟ ซึ่งจะช่วยให้ซีพีเอฟจัดทำแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพเต็มรูปแบบเพื่อบูรณาการเข้ากับแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่มีอยู่แล้ว งานวิจัยนี้ช่วยให้บริษัทได้เข้าใจถึงความเสี่ยงด้านความหลายหลายทางชีวภาพและดำเนินงานเพื่อสร้างผลลัพธ์เชิงบวกต่อความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ปฏิบัติการภายในปี 2573
การดำเนินการ