ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
การจัดการความปลอดภัยอาหารตลอดห่วงโซ่อาหารในยุคการระบาดโควิด-19
29 Jul 2021
การจัดการความปลอดภัยอาหารตลอดห่วงโซ่อาหารในยุคการระบาดโควิด-19

กว่า 1 ปีที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับฝันร้ายจากการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 โดยมีความคาดหวังว่าทางออกของฝันร้ายนี้จะมีวัคซีนมาช่วยกอบกู้สถานการณ์ให้ดีขึ้นได้ สถานการณ์แพร่เชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบหลายด้าน เช่น สุขภาพ สังคม การศึกษา และเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับการเชื่อมโยงของระบบห่วงโซ่อาหารกับโควิด-19 คงต้องย้อนกลับที่จุดเริ่มต้นการพบเชื้อในตลาดอู่ฮั่น ประเทศจีน ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการบริโภคค้างคาว แต่ยังไม่มีหลักฐานการยืนยันแน่ชัดของเส้นทางเชื้อโควิด-19 ในมนุษย์ ซึ่งอาจจะเกิดจากสัตว์สื่อกลางหรือการปนเปื้อนข้ามบนพื้นผิวในตลาด ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมอาหารจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังและติดตามงานวิจัยสาเหตุของการเกิดเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง


ปัจจุบัน ในห่วงโซ่อาหารจะมีการควบคุมความปลอดภัยอาหาร โดยเริ่มจากต้นน้ำจะมีการมาตรฐานการ GAP ควบคุมในฟาร์ม ส่วนกลางน้ำจะมีมาตรฐาน GMP/GHP/HACCP หรือมาตรฐานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศในการควบคุมกระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้า ส่วนสุดท้ายปลายน้ำ ผู้บริโภคมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากโรคทางเดินอาหารและน้ำมากขึ้น สำหรับปัจจัยที่จะควบคุมเชื้อโควิด-19 ได้สำเร็จ คือ การควบคุมคน ประกอบไปด้วย เกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ ซึ่งวิธีการควบคุมอันตรายของโควิต-19 แบ่งได้เป็น 5 ระดับ ตามประสิทธิภาพของการควบคุมดีที่สุดไปยังน้อยที่สุด ได้ 5 ระดับ คือ 1) การแยกคนที่ติดเชื้อโควิด-19 ออกจากการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร 2) การปรับเปลี่ยนกลุ่มผู้ที่ปลอดเชื้อมาปฏิบัติหน้าที่แทน 3) การใช้เครื่องมือกั้นเว้นระยะห่างระหว่างผู้ปฏิบัติงาน 4) การเปลี่ยนวิถีการทำงาน โดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆเข้ามาช่วย 5) การใช้หน้ากากและถุงมือ


ระดับการจัดการความปลอดภัยอาหารและการรับมือในสถานการณ์โควิด-19 แบ่งได้ 3 ส่วนคือ 1) การจัดการในฟาร์ม ซึ่งควรปฏิบัติตามหลักฟาร์ม Biosecurity โดยการป้องกันการนำเชื้อต่างๆเข้าสู่ฟาร์ม และป้องกันเชื้อภายในฟาร์มแพร่สู่ภายนอก ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ ขนส่งสินค้า สุขอนามัยและวิธีปฏิบัติงานของคนในฟาร์ม ควรมีการปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดค่าใช้จ่าย 2) การจัดการในอุตสาหกรรมอาหาร ต้องมีแผนหรือคู่มือในการจัดการรับมือกับโควิด-19 มีการสุ่มตรวจเชื้อโควิด-19 ในพนักงานผู้ที่สัมผัสอาหารด้วย rapid antigen test อย่างสม่ำเสมอ มีการยกระดับมาตรฐาน GAP/HACCP โดยเฉพาะเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล รวมถึงการร่วมมือในกลุ่มธุรกิจอาหารที่ใกล้เคียงกัน ที่จะสามารถแลกเปลี่ยนหรือช่วยเหลือกันได้กรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น วัตถุดิบหรืออาหารขาดแคลน การขาดแคลนแรงงาน  นอกจากนี้ควรมีการนำ Big data management มาใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆตอบรับเทรนด์อาหารโลกตอบสนองผู้บริโภค เช่น อาหารที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันทางร่างกายหรือโปรตีนจากพืช ขณะเดียวกัน การจัดการในเรื่อง food lost food waste จะเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายของโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นการผลิตอาหารแบบยั่งยืน 3) การจัดการของภาคบริการ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม ที่ต้องปรับตัวให้เร็วสอดรับกับมาตรการของภาครัฐ มีแผนธุรกิจหรือการเตรียมวัตถุดิบให้ยืดหยุ่นสอดคล้องกับสถานการณ์ และมีมาตรการเคร่งครัดในเรื่องความสะอาด การใส่หน้ากากอนามัย สุขอนามัยของผู้ใกล้ชิดอาหาร และการเว้นระยะห่างเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ส่งอาหารควรตรวจเชื้อโควิด-19และควรมีความรู้ความเข้าในเกี่ยวกับอุณหภูมิในการส่งอาหารเพื่อลดการเน่าเสียของอาหารระหว่างการขนส่งได้ 


การที่จะผ่านวิกฤตโควิด-19 นี้ไปได้ ต้องเกิดจากการร่วมมือของทุกฝ่ายในการยกระดับการควบคุมสุขอนามัยอย่างเคร่งครัดเพื่อช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดโควิด-19 และระบบการจัดการอาหารปลอดภัยมีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหารในสถานที่ปฏิบัติงาน ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคควรมีความตระหนักในการเลือกซื้อสินค้าจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและรับประทานอาหารอย่างถูกสุขอนามัย ประเด็นสุดท้ายคือการร่วมมือของภาครัฐกับต่างประเทศ จะทำให้ประเทศไทยได้รับข่าวสารที่รวดเร็ว มีเครื่องมือใหม่ๆที่จะช่วยให้การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเมื่อเกิดโรคระบาด หรือโรคอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้อุตสาหกรรมรวมถึงประเทศสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนได้ดี


ดร.จุฑามาศ กลิ่นโซดา 

นักวิจัยฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

Other Activities
CP Foods Partners with Ramathibodi Hospital Elevates Thais Healthcare with Dietary Solutions
13 Feb 2024
CP Foods Partners with Ramathibodi Hospital Elevates Thais Healthcare with Dietary Solutions
CP Foods Advances Consumer Health with Commitment to Low Sodium Diets
20 Nov 2023
CP Foods Advances Consumer Health with Commitment to Low Sodium Diets
CP Foods Ensures CP Sausage Meets World-Class Safety Standards
01 Nov 2023
CP Foods Ensures CP Sausage Meets World-Class Safety Standards
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
11 Oct 2023
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x