เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI

คณะกรรมการเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2563 คณะกรรมการเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ประกอบด้วย
นายอดิเรก ศรีประทักษ์
ประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ
กรรมการเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
นายไพศาล จิระกิจเจริญ
กรรมการเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
นายประเดิม โชติศุภราช
กรรมการเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
นายสรรเสริญ สมัยสุต
กรรมการเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
นางกอบบุญ ศรีชัย
กรรมการเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
นายทศพร เพ็ชรโปรี
กรรมการเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

บทบาทหน้าที่

     1. ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินการด้านการใช้เทคโนโลยี รวมถึงการลงทุนที่เกี่ยวข้อง และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

     2. กำกับดูแลด้านกลยุทธ์ และทิศทางของเทคโนโลยีเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท

     3. ทบทวนแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลด้านการใช้เทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

     4. สอบทานการปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้

     5. รายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายต่อคณะกรรมการบริษัท

 

ในส่วนของความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูงนั้น ซีพีเอฟมี บริษัท ซีพีเอฟ ไอที เซ็นเตอร์ จำกัด  เป็นบริษัทเรือธงของกลุ่มบริษัทซีพีเอฟ
ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะในการรับผิดชอบด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับทั้งกลุ่ม คุณสรรเสริญ สมัยสุต เป็นกรรมการผู้จัดการของ บริษัท ซีพีเอฟ ไอที เซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งมีหน้าที่คล้ายกับ ผู้บริหารระดับสูงด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ (CISO: Chief information Security Officer ) ความรับผิดชอบของ บริษัท ซีพีเอฟ ไอที เซ็นเตอร์ จำกัด มีดังนี้

     1. ประกาศนโยบายและมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ

     2. คัดเลือกและพัฒนาระบบงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของระบบตามมาตรฐานสากล

     3. จัดอบรมเกี่ยวกับหลักการและแนวทางปฏิบัติในการจัดประเภทข้อมูล เพื่อนำไปใช้กับพนักงานตั้งแต่วันแรกที่เริ่มงาน และเพื่อให้มีการ

          กลับมาทบทวนความรู้ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

     4. ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐานสากล และพิจารณานำเสนอกำหนดมาตรการการจัดการ

          เพิ่มเติมสำหรับระบบสารสนเทศที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในปัจจุบันยังคงต่ำกว่ามาตรฐาน

     5. ตรวจสอบการเข้าถึงเครือข่ายของบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง และร่วมมือกับบริษัทที่ปรึกษา (consulting) ในการตรวจสอบ

         ระบบรักษาความปลอดภัย

     6. สื่อสารกับพนักงานบริษัทเกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมเกี่ยวกับการใช้ระบบ การบริหารจัดการข้อมูล ไวรัส และการใช้อีเมลอย่างไม่เหมาะสม

          และพัฒนาแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ

cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x