เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
หลักการ
ผู้ถือหุ้นของบริษัททุกรายจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรมตามสิทธิพื้นฐานที่มีอยู่ ดังนั้นบริษัทจึงต้องมีมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในของบริษัทเพื่อหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ หรือการนำข้อมูลไปเปิดเผยกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการและผู้บริหารซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม รวมทั้งการมีกระบวนการจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่สนับสนุนให้มีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าผู้ถือหุ้นทุกคนจะได้รับการปฏิบัติ และได้รับการปกป้องสิทธิพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน คณะกรรมการจึงได้กำหนดแนวปฏิบัติไว้ดังนี้
แนวปฏิบัติ
เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าผู้ถือหุ้นทุกคนจะได้รับการปฏิบัติ และได้รับการปกป้องสิทธิพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน คณะกรรมการจึงได้กำหนดแนวปฏิบัติไว้ดังนี้
การใช้ข้อมูลภายใน
1.จัดให้มีนโยบายว่าด้วยการจัดการและการเปิดเผยข้อมูลภายใน เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ได้มีการเปิดเผยสู่สาธารณะอย่างถูกต้อง ชัดเจน และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และเพื่อให้บริษัทมีมาตรการที่เหมาะสมในการเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวในระหว่างที่บริษัทยังไม่ทำการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ โดยให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างทุกคนนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน โดยนโยบายดังกล่าวจะครอบคลุมถึงวิธีจัดการกับข้อมูลภายใน ลักษณะของข้อมูลภายในที่ต้องเปิดเผย รวมถึงวิธีการที่ใช้ในการเปิดเผยข้อมูลภายใน นอกจากนี้ ยังจัดให้มีระเบียบว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร รวมถึงผู้เข้าถึงข้อมูลภายในทุกคน จัดทำและนำส่งรายงานการถือหลักทรัพย์และการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท ภายในระยะเวลาที่กำหนด และให้เลขานุการบริษัทรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหารต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเป็นรายไตรมาส และรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของผู้เข้าถึงข้อมูลภายในต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารเป็นรายไตรมาส โดยระเบียบดังกล่าวได้ระบุถึงระยะเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทด้วย กล่าวคือ (1) ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดไตรมาส จนถึง(รวม)วันที่ซีพีเอฟได้เปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานของแต่ละไตรมาสเรียบร้อยแล้ว (2) ตั้งแต่วันเริ่มโครงการที่มีสารสนเทศสำคัญซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์จนถึง (รวม) วันจบโครงการ และ (3) หากเป็นกรณีอื่นๆ สำนักเลขานุการบริษัทจะแจ้งห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นแต่ละคราวไป
กรณีกรรมการหรือผู้บริหารประสงค์จะซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท ให้แจ้งข้อมูลการเข้าทำรายการต่อคณะกรรมการ หรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย เป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันทำการก่อนวันเข้าทำรายการ
การคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
2.เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอเพิ่มวาระการประชุมล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งให้เสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัท โดยเผยแพร่หลักเกณฑ์ รวมถึงช่องทางรับเรื่อง และช่วงเวลาที่เปิดรับเรื่อง ให้ผู้ถือหุ้นทราบผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท
3.จัดให้มีการส่งหนังสือมอบฉันทะในรูปแบบที่ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนนเสียงได้ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้กับบุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมแทนตนในกรณีที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ด้วยตนเอง โดยจะเสนอชื่อกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คนไว้ในหนังสือเชิญประชุม สำหรับเป็นทางเลือกให้กับผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งให้เป็นผู้รับมอบฉันทะเข้าร่วมประชุมของผู้ถือหุ้นด้วย
4.ระบุถึงเอกสารหรือหลักฐาน รวมทั้งคำแนะนำ ขั้นตอนในการมอบฉันทะให้ผู้ถือหุ้นทราบในหนังสือเชิญประชุม ผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถจัดเตรียมได้อย่างถูกต้อง และไม่เกิดปัญหาในการเข้าร่วมประชุมของผู้รับมอบฉันทะ โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการมอบฉันทะจะกำหนดขึ้นภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายโดยไม่มีเรื่องใดๆที่จงใจกำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความยุ่งยากแก่ผู้ถือหุ้นในการมอบฉันทะ
5.กำกับดูแลไม่ให้ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารเพิ่มวาระการประชุมโดยที่ไม่ได้แจ้งเป็นการล่วงหน้าตามขั้นตอนเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นทั่วไป
6.ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการออกเสียงลงคะแนนในแบบหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง
7.จัดให้มีนโยบายว่าด้วยการเข้าทำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อให้การตกลงเข้าทำธุรกรรมดังกล่าวมีแนวทางที่ชัดเจน ผ่านกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบ มีเหตุมีผลและเป็นอิสระภายในกรอบจริยธรรมที่ดี เพื่อประโยชน์ต่อบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวมเป็นสำคัญ
8.ในการเปิดเผยข้อมูลกรณีการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน บริษัทจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ และความสัมพันธ์ของบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน นโยบายการกำหนดราคา และมูลค่าของรายการ รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับรายการดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นทราบอย่างชัดเจน
9.กรณีบริษัทมีการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในวาระดังกล่าวจะต้องไม่นับส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียและบุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานกำกับดูแล
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x