เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI

คณะกรรมการบริหาร

ณ วันที่ 16 มีนาคม 2566 คณะกรรมการบริหารของบริษัทประกอบด้วย
นายอดิเรก ศรีประทักษ์
ประธานคณะกรรมการบริหาร
นางอรุณี วัชรานานันท์
รองประธานคณะกรรมการบริหาร
นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์
รองประธานคณะกรรมการบริหาร
นายสุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข
รองประธานคณะกรรมการบริหาร
นางภัทนีย์ เล็กศรีสมพงษ์
กรรมการบริหาร
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ
กรรมการบริหาร
นายไพศาล จิระกิจเจริญ
กรรมการบริหาร
น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์
กรรมการบริหาร
นายสมพร เจิมพงศ์
กรรมการบริหาร
นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์
กรรมการบริหาร
นายภาณุวัตร เนียมเปรม
กรรมการบริหาร
นายณฤกษ์ มางเขียว
กรรมการบริหาร
นายวรวิทย์ เจนธนากุล
กรรมการบริหาร
นางกอบบุญ ศรีชัย
กรรมการบริหาร

อำนาจของคณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการบริหารมีอำนาจอนุมัติดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้

(1)    การตั้งบริษัทย่อยใหม่ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 800 ล้านบาท 
(2)    การเข้าซื้อกิจการโดยซีพีเอฟหรือบริษัทย่อย

           (ก)    การซื้อหรือได้มาซึ่งเงินลงทุนในหุ้นหรือส่วนของทุนของนิติบุคคลใดๆ ที่มีมูลค่าของรายการไม่เกิน 800 ล้านบาท แต่มิให้รวมถึงรายการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับมติอนุมัติจากคณะกรรมการหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของซีพีเอฟหรือของบริษัทย่อย
           (ข)    การเข้าซื้อกิจการหรือการควบรวมกิจการในรูปแบบการเข้าซื้อทรัพย์สินที่มีมูลค่าของรายการไม่เกิน 800 ล้านบาท
           (ค)    การปรับโครงสร้างการลงทุนหรือโครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่มบริษัท โดยการซื้อขายหุ้น ซื้อขายกิจการ หรือการควบรวมกิจการภายในกลุ่มบริษัท 

(3)    รายจ่ายฝ่ายทุน (Capital Expenditure)

           (ก)    รายจ่ายฝ่ายทุนของซีพีเอฟหรือบริษัทย่อยที่มีมูลค่าของโครงการตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 800 ล้านบาท 
           (ข)    รายจ่ายฝ่ายทุนของซีพีเอฟหรือบริษัทย่อยที่อยู่ในงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติไว้แล้ว ซึ่งมีมูลค่าของโครงการตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 800 ล้านบาท แต่มีการใช้เกินงบประมาณมากกว่าร้อยละ 10
           (ค)    การเข้าทำธุรกรรมของซีพีเอฟที่ต้องจดทะเบียนนิติกรรมกับสำนักงานที่ดิน ได้แก่
                      (ค1)    การซื้อหรือรับโอนอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้งบประมาณรายจ่ายลงทุนที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหาร แล้วแต่กรณี
                      (ค2)    การขายหรือโอนอสังหาริมทรัพย์ ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหาร แล้วแต่กรณี
                      (ค3)    การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจปกติหรือสนับสนุนธุรกิจปกติ

(4)    ด้านการบริหารการเงินและการบัญชี

           (ก)    การรับวงเงินสินเชื่อการค้า / สินเชื่อหมุนเวียน (Trade / Working Capital Facilities) ระหว่างซีพีเอฟกับธนาคาร
           (ข)    การกู้ยืมหรือให้กู้ยืมระยะยาวระหว่างซีพีเอฟกับบริษัทย่อย 
           (ค)    การขายหรือตัดจำหน่ายสินทรัพย์ถาวรของซีพีเอฟหรือบริษัทย่อยที่มีมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 800 ล้านบาท

(5)    ด้านบุคลากร
           (ก)    การแต่งตั้งกรรมการบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท 
           (ข)    แผนการพัฒนาบุคลากร การสร้างผู้สืบทอดตำแหน่ง การแต่งตั้ง โยกย้าย หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน 
           การกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทน และการปรับเงินเดือนและผลประโยชน์อื่นของผู้บริหารระดับประธานผู้บริหารฝ่ายปฎิบัติการ (COO) และผู้บริหารสูงสุดของสายงานหลัก (Head of Business Unit) 

(6)    ด้านการกำกับดูแล
           (ก)    แผนงานการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ประจำปีของกลุ่มบริษัท
           (ข)    การออกงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการประจำปีและรายไตรมาสของซีพีเอฟ
           (ค)    การอนุมัติแต่งตั้งผู้รับมอบฉันทะเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยทางตรง 
 

หน้าที่และความรับผิดชอบหลักของคณะกรรมการบริหาร

(1)    กลั่นกรองเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทย่อย หรือคณะกรรมการชุดย่อย (แล้วแต่กรณี) พิจารณาอนุมัติในเรื่องดัง
         ต่อไปนี้

           (ก)    กลยุทธ์องค์กร เป้าหมาย & แผนธุรกิจระยะยาว และงบประมาณประจำปีของกลุ่มบริษัท
           (ข)    การซื้อหรือได้มาซึ่งเงินลงทุนในหุ้นหรือส่วนของทุนของนิติบุคคลใดๆ ที่มีมูลค่าของรายการเกิน 800 ล้านบาทขึ้นไป แต่มิให้รวมถึง
                    รายการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับมติอนุมัติจากคณะกรรมการหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของซีพีเอฟหรือของบริษัทย่อย
           (ค)    การเข้าซื้อกิจการ หรือการควบรวมกิจการในรูปแบบการเข้าซื้อทรัพย์สินที่มีมูลค่าของรายการเกิน 800 ล้านบาทขึ้นไป
           (ง)    รายจ่ายฝ่ายทุนของซีพีเอฟหรือของบริษัทย่อยที่มีมูลค่าของโครงการเกินกว่า 800 ล้านบาทขึ้นไป
           (จ)    การขายหรือตัดจำหน่ายสินทรัพย์ถาวรของซีพีเอฟหรือของบริษัทย่อยที่มีมูลค่าตามบัญชีเกินกว่า 800 ล้านบาทขึ้นไป
           (ฉ)    การเสนอแต่งตั้งประธานคณะผู้บริหาร (CEO) ของซีพีเอฟ
           (ช)    แผนงานบริหารความเสี่ยงประจำปีของกลุ่มบริษัท

(2)    ติดตามการดำเนินงานของฝ่ายจัดการในเรื่องดังต่อไปนี้ 
           (ก)    ผลการดำเนินงานของซีพีเอฟให้เป็นไปตามเป้าหมาย แผนธุรกิจระยะยาว และงบประมาณประจำปี
           (ข)    ความคืบหน้าของโครงการลงทุน และผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงเปรียบเทียบกับงบประมาณของโครงการลงทุนนั้นๆ 
           (ค)    การดำเนินการตามแผนการพัฒนาบุคลากร

(3)    ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของผู้บริหารระดับสูง
(4)    รายงานรายการที่คณะกรรมการบริหารอนุมัติตามที่ได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท 
(5)    ปฏิบัติการใดๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
 

cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x