เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI

คณะกรรมการบริษัท

นายศุภชัย เจียรวนนท์
รองประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ

 

อายุ

54 ปี

สัดส่วนการถือหุ้น CPF/1

การถือหุ้นทางอ้อม 0.0010%

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร

เป็นน้องชายของนายสุภกิต เจียรวนนท์
และเป็นหลานของนายพงษ์เทพ เจียรวนนท์ 

คุณวุฒิการศึกษา

- ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
   มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสื่อสารมวลชน
   มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ (การเงิน)
   มหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา

วันที่เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท   

12 มิถุนายน 2562

การอบรมหลักสูตรกรรมการ

หลักสูตร Director Accreditation Program รุ่น 92/2011 
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

ประสบการณ์

ประธานกรรมการ และ ประธานคณะกรรมการบริหาร
  - บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
รองประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร
  - บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
รองประธานกรรมการ
  - บมจ. ซีพี ออลล์
รองประธานกรรมการ กรรมการกำหนดค่าตอบแทน และกรรมการสรรหา
  - บริษัท C.P. Pokphand จำกัด
กรรมการ
  - บริษัทย่อยต่างๆ ของ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น
  - บจ. รอส บรีดเดอร์ส สยาม
  - บจ. อาร์เบอร์ เอเคอร์ส ประเทศไทย
  - บจ. ซีพี โซเชียลอิมแพคท์
  - บจ. แมกโนเลีย อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น
ประธานคณะกรรมการ
  - เครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย
ประธาน
  - สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย
ประธาน
  - สมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย
ประธาน
  - Steering Committee UN Global Compact Local Network ในประเทศไทย
กรรมการ 
  - สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
กรรมการอิสระ
  - การปฏิรูปการศึกษา
กรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
  - โครงการสานพลังประชารัฐ
หัวหน้าทีมภาคเอกชน 
  - คณะทำงานด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ
ที่ปรึกษา
  - หอการค้าไทย
ที่ปรึกษา
  - สภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

/1 เป็นข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2565 ซึ่งนับรวมการถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท
  • ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท รวมถึงมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริต
  • กำหนดนโยบายหลักในการดำเนินธุรกิจ นโยบายด้านการเงิน การระดมทุน การบริหารเงินทุน การบริหารความเสี่ยงของบริษัท การจัดสรรและการบริหารทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • พิจารณาอนุมัติวิสัยทัศน์ และพันธกิจของบริษัท และให้มีการทบทวนทุกๆ รอบปีบัญชี
  • พิจารณาอนุมัติเป้าหมาย กลยุทธ์ แผนงานในการดำเนินธุรกิจ และให้มีการทบทวนทุกๆ รอบปีบัญชี รวมถึงดูแลให้มีการนำกลยุทธ์ของบริษัทไปปฏิบัติและและติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้
  • พิจารณาอนุมัติรายการที่นอกเหนือจากรายการที่คณะกรรมการบริษัทได้มอบอำนาจให้กับกรรมการผู้จัดการใหญ่(ร่วม) หรือรายการที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียบปฏิบัติของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวกำหนดให้ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท
  • จัดให้มีระบบการควบคุมภายในด้านการดำเนินงาน ด้านการรายงานทางการเงิน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ นโยบายและระเบียบปฏิบัติของบริษัท และกำหนดให้สำนักตรวจสอบภายในมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในดังกล่าวและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงประเมินความเพียงพอและเหมาะสมของระบบการควบคุมภายในเป็นประจำทุกปี และทบทวนระบบที่สำคัญอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และให้ความเห็นไว้ในรายงานประจำปี
  • ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยยังอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และดูแลให้ฝ่ายจัดการนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการทบทวนกลยุทธ์
  • ประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการและทบทวนนโยบายดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่(ร่วม) และกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการใหญ่(ร่วม) ให้เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ภายในกรอบแห่งอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท และประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่(ร่วม) เป็นประจำทุกปี เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่(ร่วม)
  • แต่งตั้งกรรมการหรือผู้บริหารเข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทย่อย เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการลงทุนในบริษัทย่อยเหล่านั้น
  • แต่งตั้งเลขานุการบริษัท เพื่อรับผิดชอบดำเนินการในเรื่องต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
  • แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ เช่น คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ เป็นต้น เพื่อช่วยคณะกรรมการในการกำกับดูแลกิจการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ โดยสมาชิกของคณะกรรมการชุดย่อยประกอบด้วยกรรมการอิสระเป็นส่วนใหญ่และประธานคณะกรรมการชุดย่อยเป็นกรรมการอิสระ
  • จัดให้มีแผนงานการพัฒนากรรมการและผู้บริหาร และแผนงานการสืบทอดงาน
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x