เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความเป็นเลิศควบคู่ไปกับสร้างความยั่งยืนเพื่อโลกที่ดีกว่าของคนรุ่นถัดไปภายใต้กลยุทธ์ นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainovation)
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ภาครัฐ และเอกชนจับมือแก้ไขปัญหาประมงไทยอย่างยั่งยืน
09 ต.ค. 2561
ภาครัฐ และเอกชนจับมือแก้ไขปัญหาประมงไทยอย่างยั่งยืน

ความพยายามของภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายเริ่มเห็นผล เมื่อผู้แทนจากหลายองค์กรระดับโลกชื่นชมความคืบหน้า และความพยายามของประเทศไทยในการยกเครื่องอุตสาหกรรมประมง ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล แม้ว่าจะมีอีกหลายประเด็นที่จำเป็นต้องแก้ไขเพื่อขจัดการทำประมงผิดกฎหมายให้หมดไปจากน่านน้ำไทย

 

ในช่วงปีที่ผ่านมา  การแก้ไขปัญหาของไทยได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากองค์กรระดับระดับโลกที่รับผิดชอบ เช่น สมาชิกคณะกรรมาธิการด้านการประมงของรัฐสภายุโรป (PECH) มูลนิธิ Environmental Justice Foundation (EJF) และ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งได้แสดงความพึงพอใจในความคืบด้านการแก้ปัญหาของประเทศไทย แม้จะยังต้องปรับปรุงในบางประเด็นด้านการจัดการ และการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อปลด “ใบเหลือง” จากอียู

 

ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลอันดับ 3 ของโลกในปัจจุบัน โดยมีแรงงานทั้งชาวไทย และจากประเทศเพื่อนบ้านเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป็นจำนวนกว่าสองล้านราย อย่างไรก็ตามภาคการประมงของไทยได้ถูกโจมตีจากหลายองค์กรว่าขาดความโปร่งใส และมาตรการป้องกันไม่ให้แรงงานเหล่านี้ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ทำให้ในปี 2558 ประเทศไทยได้รับ “ใบเหลือง” จากสหภาพยุโรป  ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการภาคประมงไทย ทั้งภาครัฐ เอกชน NGO และชาวประมงรายย่อยต้องหันมาจับมือกัน ปรับปรุงข้อกฎหมายและออกระเบียบเพิ่มเติมให้มีความทันสมัย รวมถึงมีบทลงโทษอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับมาตรฐานการประมงไทยโดยเฉพาะในด้านแรงงาน ให้ปลอดการค้ามนุษย์ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบอื่นๆ ทำให้ในปัจจุบันมีการลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายใหม่แล้วกว่า 4,200 กรณี

 

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ปรับปรุงระบบติดตาม ควบคุมและเฝ้าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance System) ให้มีความทันสมัย และเปิดใช้ระบบควบคุมการแจ้งเข้า – ออกเรือประมง (Port in - Port out) ในท่าเรือต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น เอกสารสำคัญ ลูกเรือประมง และการติดตั้งอุปกรณ์ รวมถึงการพัฒนาระบบติดตามตำแหน่งเรือ ( Vessel Monitoring System : VMS) ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ)

 

ซีพีเอฟ เป็นเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ของประเทศ และมีตัวแทนจากบริษัททำหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการ (Board of Directors) ของ Seafood Task Force และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการควบคุมห่วงโซ่อุปทาน ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อติดตามพฤติกรรมเรือประมง โดยสร้างการมีส่วนร่วมและสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐมีความสามารถในการพัฒนาระบบติดตามเรือประมง (VMS) ที่มีประสิทธิภาพ

 

นอกจากนี้ บริษัทยังได้พัฒนาห่วงโซ่อุปทานของตนเองให้เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล และปลอดการประมงผิดกฎหมาย รวมทั้งตั้งเป้าให้คู่ค้าธุรกิจหลักทั้งหมดในประเทศ โดยเฉพาะคู่ค้าธุรกิจปลาป่น ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารกุ้งของบริษัท และเป็นวัตถุดิบชนิดเดียวที่เชื่อมโยงธุรกิจของบริษัทกับภาคการประมง ต้องผ่านการตรวจประเมินด้านความยั่งยืนครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน  และการปฏิบัติต่อแรงงานภายในปี 2563  

 

บริษัทได้จัดการฝึกอบรม และให้คำแนะนำแก่คู่ค้า เพื่อสนับสนุนให้คู่ค้าปลาป่นปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานให้มีความยั่งยืน ทำให้ ปลาป่นทั้งหมดที่บริษัทจัดหาและใช้ในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2558 มาจากแหล่งที่ได้รับรองมาตรฐาน IFFO Responsible Sourcing (IFFO RS) ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตปลาป่นและน้ำมันปลาอย่างยั่งยืนในระดับสากลที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ช่วยให้บริษัทสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้ถึงเรือประมงที่จับปลา นอกจากนี้บริษัทยังมีเป้าหมายที่จะเริ่มจัดหาปลาป่นในประเทศเวียดนาม อินเดีย และฟิลิปปินส์ ภายใต้มาตรฐาน IFFO RS Improvers Programme (IFFO RS IP) ภายใน ปี 2562

 

น.สพ. สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ อธิบายว่า มาตรฐาน IFFO RS เป็นเครื่องยืนยันถึงความยั่งยืน และความโปร่งใสในการจัดหาปลาป่นของบริษัท ช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าวัตถุดิบที่บริษัทใช้มาจากการทำประมงที่ถูกกฎหมาย 

 

“บริษัทมีนโยบายการจัดหาปลาป่นที่มาจากโรงงานแปรรูปปลา (By-Product) ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO RS หรือ IFFO RS IP ขณะที่ปลาป่นที่มาจากการจับปลา (By-Catch) จะต้องได้รับรองมาตรฐานสากลหรือสามารถตรวจสอบได้โดยกลไกตรวจสอบที่มีกฎหมายรองรับเท่านั้น” น.สพ. สุจินต์ กล่าว พร้อมชี้ว่าการรับรองมาตรฐาน IFFO RS จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทในระยะยาวอีกด้วย

กิจกรรมอื่น ๆ
"คลีนเล้าด้วยใจ ปันไข่ให้น้อง" มูลนิธิซีพี จับมือ ซีพีเอฟ เดินหน้ายกระดับสุขอนามัยโรงเรียน ต่อยอด "โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน" 
23 พ.ค. 2568
"คลีนเล้าด้วยใจ ปันไข่ให้น้อง" มูลนิธิซีพี จับมือ ซีพีเอฟ เดินหน้ายกระดับสุขอนามัยโรงเรียน ต่อยอด "โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน" 
ซีพีเอฟ รับรองมาตรฐาน มอก.9999  ขับเคลื่อนธุรกิจอาหารสัตว์บกเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง
19 พ.ค. 2568
ซีพีเอฟ รับรองมาตรฐาน มอก.9999  ขับเคลื่อนธุรกิจอาหารสัตว์บกเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ซีพีเอฟ หนุนนโยบายผู้ว่าฯเชียงใหม่ เดินหน้าป้องกันไฟป่า ลด PM2.5 ต่อเนื่อง
14 พ.ค. 2568
ซีพีเอฟ หนุนนโยบายผู้ว่าฯเชียงใหม่ เดินหน้าป้องกันไฟป่า ลด PM2.5 ต่อเนื่อง
ลดเสี่ยงภัยแล้ง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ... ซีพีเอฟ “ปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร”
09 พ.ค. 2568
ลดเสี่ยงภัยแล้ง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ... ซีพีเอฟ “ปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร”
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x