เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ซีพีเอฟ หนุนสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน ปลูกผักปลอดสาร-ตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์
18 มิ.ย. 2563
ซีพีเอฟ หนุนสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน ปลูกผักปลอดสาร-ตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าสนับสนุนชุมชนผลิตอาหารปลอดภัยไว้บริโภค ต่อยอดโครงการยุทธศาสตร์สร้างสุข ปลูกผักปลอดสาร สู่การตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ สร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน                  

       

"โครงการยุทธศาสตร์สร้างสุข ปลูกผักปลอดสาร" เป็นโครงการที่มีเป้าหมายสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน ภายใต้ระยะเวลาของโครงการ 5 ปี (ปี 2562-2566) ซีพีเอฟส่งเสริมชุมชนรอบพื้นที่เขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี รวมกลุ่มกันปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีตามวิถีเกษตรแบบธรรมชาติไว้บริโภคในครัวเรือน และตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ ตามภูมิปัญญาชุมชน ซึ่งในปีนี้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯบางส่วน สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์จากพืชผักที่ปลูกไว้ เพื่อส่งเข้าธนาคารเมล็ดพันธุ์แล้ว เช่น เมล็ดพันธุ์มะเขือคางกบ มะเขือหยดน้ำทิพย์ มะเขือม่วงลิง มะเขือไข่เต่า มะเขือเทศสีดา บวบหอม บวบพื้นบ้าน มะระขี้นก กระเจี๊ยบเขียว ฯลฯ และยังนำเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวสนับสนุนโครงการของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำเมล็ดพันธุ์กระจายให้ชุมชนต่างๆ ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19             

       

นายประทีป อ่อนสลุง พี่มืด ชาวบ้านตำบลโคกสลุง  แกนนำกลุ่มไทยเบิ้ง กล่าวว่า โครงการยุทธศาสตร์สร้างสุข ปลูกผักปลอดสาร มีเป้าหมายให้สมาชิกที่ร่วมโครงการ และชาวบ้าน ผลิตอาหารไว้บริโภคเองในครัวเรือน โดยปลูกผักปลอดสารเคมี และยังมีผลผลิตแบ่งปันให้พี่น้องและเครือข่าย ขณะที่ชุมชนมีการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุุ์ เพื่อให้ชาวบ้านและเกษตรกรมีเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้านที่ปลอดสารไว้ขยายพันธุ์ต่อ เพราะเราอยากให้คนในชุมชนผลิตอาหารได้เอง พึ่งพากันเองในชุมชน  เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชน  


นอกจากนื้ เมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้านที่ชุมชนเก็บชุดแรกจากสมาชิกที่เข้าร่วมในโครงการบางส่วน จำนวน 21 ชนิด นำมาแบ่งบรรจุซองเพื่อมอบให้กับ "โครงการแผนปฏิบัติการ Quick Win 90วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร" ซึ่งเป็นโครงการของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย  น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ที่เน้นให้ชุมชนพึ่งตนเอง ปลูกผักเพื่อเป็นแหล่ง อาหารและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน"ช่วงที่เกิดสถานการณ์ระบาดของโควิด ชุมชนเราไม่ได้รับผลกระทบเรื่องการขาดแคลนอาหาร เพราะผักปลอดสารที่ปลูกไว้ เป็นแหล่งอาหารที่มั่นคง และยังเป็นแหล่งอาหารที่ปลอดภัย" นายประทีป กล่าว   


นายชุมพล สำราญสลุง ชาวบ้านหมู่ 4 ตำบลโคกสลุง สมาชิกของโครงการฯ และเป็นอีกคนหนึ่งที่ส่งเมล็ดพันธุ์ชุดแรกให้ธนาคารเมล็ดพันธุ์ไปแล้ว 13 ชนิด กล่าวว่า ขอชักชวนให้ทุกครัวเรือนปลูกผักปลอดสารเคมี และเก็บเมล็ดพันธุ์ติดบ้านไว้ เพราะจากวิกฤตโควิดทำให้รู้ว่าชุมชนเรารอดได้จากแหล่งอาหารที่เราผลิตได้เอง และยิ่งมองไปในระยะยาว การจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์จะเกิดประโยชน์อย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเกิดวิกฤตครั้งไหน ชุมชนก็ยังพึ่งพาตนเองได้ และเมล็ดพันธุ์พืชที่กระจายไปยังชุมชนอื่นๆ เป็นการสร้างความยั่งยืนทางด้านอาหารของชุมชน                             

 

ด้าน นายวราวุธ อ่วมเอี่ยม ชาวบ้านหมู่ 3 บ้านห้วยบง ต.พัฒนานิคม เล่าว่า ช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด ชาวบ้านในชุมชนที่ปลูกผักปลอดสารเคมี อยู่ได้ด้วยการพึ่งพาผลผลิตผักสวนครัวที่ปลูกไว้   ที่บ้านผมเอง มีผักที่ปลูกไว้หลากหลายชนิด ทั้งมะเขือเทศ ถั่วดาวอินคา ผักติ้ว มะละกอ ผักไชยา  ฯลฯ และถึงแม้ว่าปีนี้เกษตรกรจะเจอปัญหาภัยแล้งด้วย แต่ชาวบ้านที่ร่วมโครงการยุทธศาสตร์สร้างสุข ปลูกผักปลอดสาร ได้รับความช่วยเหลือจากซีพีเอฟนำถังพลาสติกเพื่อกักเก็บน้ำขนาด 1000 ลิตร และอุปกรณ์ระบบน้ำหยดมาให้ ช่วยให้พืชผักที่ปลูกออกผลผลิตได้ตลอด หากไม่เกิดวิกฤตโควิด หลายคนก็คงมองไม่เห็นว่าการปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือน ช่วยได้มาก เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างแท้จริง   

  

"โครงการยุทธศาสตร์สร้างสุข ปลูกผักปลอดสาร" เป็นโครงการที่ซีพีเอฟมุ่งส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรในชุมชนปลูกผักตามวิถีเกษตรธรรมชาติ  และจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ตามวิถีภูมิปัญญาชุมชน เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนเป็นเครือข่ายร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าในพื้นที่ เป็นโครงการต่อยอดเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน หลังจากที่ซีพีเอฟดำเนิน "โครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง" ซึ่งบริษัทร่วมกับกรมป่าไม้และชุมชน อนุรักษ์ ฟื้นฟูป่า ในพื้นที่เขาพระยาเดินธง 5,971 ไร่ เป็นอีกโครงการที่ซีพีเอฟร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน./

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ จับมือ กรุงเทพโปรดิวซ์ รณรงค์หยุดเผา แจ้งเบาะแสเผาแปลงข้าวโพด ผ่านแอป ฟอร์ ฟาร์ม  หวังพิชิตฝุ่น PM2.5
26 มี.ค. 2567
ซีพีเอฟ จับมือ กรุงเทพโปรดิวซ์ รณรงค์หยุดเผา แจ้งเบาะแสเผาแปลงข้าวโพด ผ่านแอป ฟอร์ ฟาร์ม  หวังพิชิตฝุ่น PM2.5
22 มี.ค. วันน้ำโลก “ซีพีเอฟ” ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ร่วมอนุรักษ์น้ำ ตลอดห่วงโซ่การผลิต
22 มี.ค. 2567
22 มี.ค. วันน้ำโลก “ซีพีเอฟ” ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ร่วมอนุรักษ์น้ำ ตลอดห่วงโซ่การผลิต
ผลิตภัณฑ์ซีพีเอฟ 584 รายการ ได้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์จาก อบก. หนุนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
22 มี.ค. 2567
ผลิตภัณฑ์ซีพีเอฟ 584 รายการ ได้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์จาก อบก. หนุนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
47 ปี “หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จ.ฉะเชิงเทรา”
12 มี.ค. 2567
47 ปี “หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จ.ฉะเชิงเทรา”
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x