เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
 "ซีพีเอฟปันน้ำปุ๋ย” ปีที่ 23 เกษตรกรปลื้ม ช่วยลดต้นทุน-ผ่านพ้นวิกฤตแล้ง
19 ก.พ. 2567
 "ซีพีเอฟปันน้ำปุ๋ย” ปีที่ 23 เกษตรกรปลื้ม ช่วยลดต้นทุน-ผ่านพ้นวิกฤตแล้ง

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้า “โครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร” แบ่งปันน้ำปุ๋ยจากระบบบำบัดของฟาร์มสุกรและคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ ส่งให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชในชุมชนรอบสถานประกอบการ บรรเทาผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน เพิ่มรายได้

นายสมคิด วรรณลุกขี ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจไก่ไข่ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า คอมเพล็กซ์ไก่ไข่ของซีพีเอฟ ดำเนินโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร นับตั้งแต่ปี 2564 ด้วยการนำน้ำจากระบบไบโอแก๊ส (Biogas) ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ส่งให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชในพื้นที่ใกล้เคียง ใช้ในสวนปาล์มน้ำมัน ไร่แตงโม ฟักทอง อ้อย ข้าวโพด และหญ้าเนเปียร์ สำหรับปี 2566 คอมเพล็กซ์ไก่ไข่จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ฟาร์มสันกำแพง ฟาร์มจักราช ฟาร์มหนองข้อง ฟาร์มอุดร และฟาร์มจะนะ แบ่งปันน้ำปุ๋ยไปกว่า 181,000 ลูกบาศก์เมตร ให้กับพื้นที่การเกษตรมากกว่า 145 ไร่ ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งแก่พี่น้องเกษตรกร และมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำให้กับชุมชน 

“ซีพีเอฟ มีเป้าหมายในการไม่ปล่อยน้ำทิ้งออกภายนอกฟาร์ม หรือ Zero Discharge โดยน้ำหลังการบำบัดด้วย Biogas และยังคงมีแร่ธาตุที่เหมาะสมกับพืชที่เรียกว่า “น้ำปุ๋ย” ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ในฟาร์มทั้งรดต้นไม้ สนามหญ้า และแปลงผักปลอดภัยที่บุคลากรปลูกในพื้นที่ว่างของฟาร์ม เมื่อเกษตรกรรอบฟาร์มเห็นผลสำเร็จพืชพันธุ์เติบโตดี จึงติดต่อขอรับน้ำไปใช้รดพืชผลทั้งในช่วงแล้งและช่วงปกติตลอดปี น้ำปุ๋ยและกากตะกอนที่ส่งต่อสู่เกษตรกรมีส่วนช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนค่าปุ๋ย ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ช่วยเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี” นายสมคิด กล่าว

ทางด้าน นายหล๊ะ ดุไหน ต้นแบบเกษตรกรที่รับน้ำปุ๋ยจากฟาร์มจะนะ จ.สงขลา กล่าวว่า ใช้น้ำปุ๋ยรดสวนปาล์ม 10 ไร่ และใช้ในแปลงปลูกฟักทอง 10 ไร่ รอบการผลิตที่ผ่านมาน้ำปุ๋ยซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดี ช่วยให้ได้ผลผลิตฟักทองมากถึง 20,000 กิโลกรัม มีกำไร 200,000 บาท ส่วนรอบผลิตปัจจุบันคาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นประมาณ 20% ล่าสุดขยายความสำเร็จไปใช้กับไร่แตงโมอีก 10 ไร่ ผลผลิตดีมาก เถาแตงแข็งแรง มีดอกมาก ติดผลดก แตงลูกใหญ่น้ำหนักดี น่าจะสร้างกำไรได้อย่างแน่นอน และยังมองหาแนวทางขยายการผลิตในพืชชนิดอื่นๆต่อไป 

ส่วน นายวิโรจน์ ใจด้วง เกษตรกรปลูกหญ้าเนเปียร์ ที่รับน้ำปุ๋ยจากฟาร์มสันกำแพ จ.เชียงใหม่ โดยใช้น้ำปุ๋ย 720 ลูกบาสก์เมตรต่อรอบการผลิต ในการรดหญ้าเนเปียร์ 6 ไร่ ใช้เทคนิคผสมน้ำปุ๋ยกับน้ำคลอง ในอัตราส่วน 1:1 สามารถปลูกหญ้าเนเปียร์ได้ 4 รอบต่อปี ช่วยลดค่าปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 16,000 บาทต่อปี หลังจากที่ได้ใช้น้ำปุ๋ย พบว่าต้นหญ้าโตเร็วกว่าที่เคยใช้ปุ๋ยเคมี ต้นอวบแน่น ใบใหญ่ ได้ผลผลิตที่ดีมาก ปัจจุบันไม่มีภาระต้นทุนค่าปุ๋ยอีกเลย และขอขอบคุณซีพีเอฟที่จัดโครงการฯนี้ ที่ช่วยให้ผ่านพ้นภัยแล้งและช่วยเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร

ซีพีเอฟ เดินหน้า “โครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร” สู่ปีที่ 23 ทั้งในฟาร์มสุกรและคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ ภายใต้การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่การผลิต มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรและช่วยลดการใช้น้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติอย่างเป็นรูปธรรม โดยยึดหลัก 3Rs ทั้งการลดปริมาณการใช้น้ำดิบจากธรรมชาติ (Reduce) การนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ตามกลยุทธ์และเป้าหมายความยั่งยืน “CPF 2030 Sustainability in Action” สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) 
 

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ จับมือ เอสเอพี นำโซลูชันดิจิทัลยกระดับการขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายการเติบโตยั่งยืน
25 เม.ย. 2567
ซีพีเอฟ จับมือ เอสเอพี นำโซลูชันดิจิทัลยกระดับการขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายการเติบโตยั่งยืน
ซีพีเอฟ จับมือ กรุงเทพโปรดิวซ์ รณรงค์หยุดเผา แจ้งเบาะแสเผาแปลงข้าวโพด ผ่านแอป ฟอร์ ฟาร์ม  หวังพิชิตฝุ่น PM2.5
26 มี.ค. 2567
ซีพีเอฟ จับมือ กรุงเทพโปรดิวซ์ รณรงค์หยุดเผา แจ้งเบาะแสเผาแปลงข้าวโพด ผ่านแอป ฟอร์ ฟาร์ม  หวังพิชิตฝุ่น PM2.5
22 มี.ค. วันน้ำโลก “ซีพีเอฟ” ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ร่วมอนุรักษ์น้ำ ตลอดห่วงโซ่การผลิต
22 มี.ค. 2567
22 มี.ค. วันน้ำโลก “ซีพีเอฟ” ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ร่วมอนุรักษ์น้ำ ตลอดห่วงโซ่การผลิต
ผลิตภัณฑ์ซีพีเอฟ 584 รายการ ได้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์จาก อบก. หนุนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
22 มี.ค. 2567
ผลิตภัณฑ์ซีพีเอฟ 584 รายการ ได้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์จาก อบก. หนุนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x