เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ซีพีเอฟ ร่วมกับ TSFR เดินหน้ายกระดับห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลไทยสู่ความยั่งยืน
18 ก.ค. 2566
ซีพีเอฟ ร่วมกับ TSFR เดินหน้ายกระดับห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลไทยสู่ความยั่งยืน

 

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับคณะพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงไทย (Thai Sustainable Fisheries Roundtable : TSFR) ดำเนินการเชิงรุกอนุรักษ์และปกป้องระบบนิเวศและทรัพยากรในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยตามแผนปฏิบัติการจัดการประมง (Fishery Action Plan: FAP) ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการดำเนินการโครงการปรับปรุงและพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Project: FIP) เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของซีพีเอฟในการมีส่วนร่วมยกระดับมาตรฐานห่วงโซ่การผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและได้รับการยอมรับในระดับสากล

 

ซีพีเอฟ เป็นตัวแทนคณะทำงานการพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงของไทย (TSFR) ร่วมนำเสนอความคืบหน้ากิจกรรมตามแผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย (Fishery Action Plan: FAP) ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกของโลกที่ดำเนินโครงการนำร่องการพัฒนาพื้นที่แหล่งการประมงที่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ (Multispecies Fishery) ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำให้เกิดความรับผิดชอบเพื่อนำไปสู่การรับรองมาตรฐานจาก MarinTrust องค์กรมาตรฐานสากลด้านวัตถุดิบอาหารทะเลระดับโลก โดยมีนายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมงเป็นประธานในที่ประชุม ร่วมกับนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ตัวแทนจากคณะพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงไทย และมีเชี่ยวชาญจาก MarinTrust รวมทั้งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากกรมประมง เข้าร่วมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานกิจกรรมฯ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ข้อมูลและผลการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลของไทยตั้งแต่ต้นทางเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบย้อนกลับได้และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคทั่วโลก

 

การดำเนินงานในปีนี้ ซีพีเอฟ ภายใต้คณะทำงาน TSFR มุ่งเน้นนำกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการฯ ที่ได้รับการรับรองจาก MarinTrust มาดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยการนำรวบรวมข้อมูลการจับทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเลในอ่าวไทยมาวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลง การประเมินความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล เช่น แนวปะการัง หญ้าทะเล ป่าโกงกาง ที่เกิดจากการทำประมงอวนลาก การอนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ สัตว์ที่ถูกคุกคาม และได้รับการคุ้มครองซึ่งผลการดำเนินงานความคืบหน้าในกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย (Fishery Action Plan: FAP) นี้จะช่วยให้ MarinTrust นำข้อมูลไปพัฒนาหลักเกณฑ์มาตรฐานการรับรองวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำจากพื้นที่ที่มีสัตว์น้ำแบบหลากหลายสายพันธุ์ และเป็นต้นแบบให้ประเทศอื่นๆ ต่อไป

 

ซีพีเอฟ ภายใต้คณะทำงาน TSFR จากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ดำเนินโครงการปรับปรุงและพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Project: FIP) ตั้งแต่ปี 2560 โดยการดำเนินงานมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการทำประมงในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยตามมาตรฐานสากล ร่วมสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล  และพัฒนากระบวนการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งห่วงโซ่อุปทานและได้รับการรับรองจากมาตรฐานสากล

 

ทั้งนี้ TSFR เป็นคณะทำงานที่ร่วมมือกันโดย 8 สมาคม ตลอดห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย ประกอบด้วยสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมกุ้งไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย และสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงและพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Project: FIP) สำหรับการประมงอวนลากในฝั่งอ่าวไทยโดยนอกเหนือจากการพัฒนาการประมงเพื่อความรับผิดชอบอันจะส่งผลต่อกระบวนการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแล้วในภาพใหญ่ของประเทศโครงการฯยังส่งเสริมการป้องกันการประมงผิดกฎหมาย, ขาดการรายงาน, และไร้การควบคุม (IUU) ที่อาจทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทะเลของประเทศ ซึ่งปัจจุบันโครงการยังได้นำองค์ความรู้ไปใช้ในประเทศอินเดียและเวียดนามอีกด้วย

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ ชู ศูนย์ FLEC สงขลา ผนึกความร่วมมือรัฐ เอกชน และประชาสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติในภาคประมง
01 พ.ค. 2567
ซีพีเอฟ ชู ศูนย์ FLEC สงขลา ผนึกความร่วมมือรัฐ เอกชน และประชาสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติในภาคประมง
ซีพีเอฟ จับมือ เอสเอพี นำโซลูชันดิจิทัลยกระดับการขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายการเติบโตยั่งยืน
25 เม.ย. 2567
ซีพีเอฟ จับมือ เอสเอพี นำโซลูชันดิจิทัลยกระดับการขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายการเติบโตยั่งยืน
ซีพีเอฟ จับมือ กรุงเทพโปรดิวซ์ รณรงค์หยุดเผา แจ้งเบาะแสเผาแปลงข้าวโพด ผ่านแอป ฟอร์ ฟาร์ม  หวังพิชิตฝุ่น PM2.5
26 มี.ค. 2567
ซีพีเอฟ จับมือ กรุงเทพโปรดิวซ์ รณรงค์หยุดเผา แจ้งเบาะแสเผาแปลงข้าวโพด ผ่านแอป ฟอร์ ฟาร์ม  หวังพิชิตฝุ่น PM2.5
22 มี.ค. วันน้ำโลก “ซีพีเอฟ” ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ร่วมอนุรักษ์น้ำ ตลอดห่วงโซ่การผลิต
22 มี.ค. 2567
22 มี.ค. วันน้ำโลก “ซีพีเอฟ” ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ร่วมอนุรักษ์น้ำ ตลอดห่วงโซ่การผลิต
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x