เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นสร้างห่วงโซ่ผลิตอาหารที่เคารพสิทธิมนุษยชน    ส่งเสริมการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ปราศจากการค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานเด็ก
12 มิ.ย. 2565
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นสร้างห่วงโซ่ผลิตอาหารที่เคารพสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ปราศจากการค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานเด็ก

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการเคารพสิทธิมนุษยชนและแรงงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน สนับสนุนความหลากหลายและการยอมรับในความแตกต่าง ปฏิบัติต่อบุคคลและกลุ่มบุคคลอย่างเท่าเทียม   ไม่เลือกปฏิบัติอย่างเด็ดขาด ส่งเสริมการลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมจับมือกับคู่ค้าและเกษตรกรพัฒนาห่วงโซ่ผลิตอาหารที่ปราศจากการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็ก 

 

นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ ในฐานะประธานความมุ่งมั่นด้านสิทธิมนุษยชนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต กล่าวว่า การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจที่มีธรรมาภิบาล ปฏิบัติต่อบุคคลและกลุ่มบุคคลอย่างเท่าเทียม ปราศจากการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งหมายรวมถึงพนักงาน คู่ค้า ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม  บริษัทฯ ตระหนักดีว่าความแตกต่างและความหลากหลายของพนักงาน มีความสำคัญและเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านอาหารของประเทศและทั่วโลก ซึ่งนับเป็น1 ใน 9 ความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action  ในการบริหารจัดการดูแลทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม มีแนวปฏิบัติด้านแรงงานอย่างชัดเจนตามมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001-2563) รวมไปถึงมาตรฐานสากลและข้อกำหนดของคู่ค้า มุ่งเน้นสร้างวัฒนธรรมการยอมรับในความแตกต่างและความหลากหลายภายในองค์กร ปราศจากการเลือกปฏิบัติอย่างเด็ดขาด (Zero Tolerance Approach) ไม่มีการใช้แรงงานผิดกฎหมาย ต่อต้านและป้องกันการล่วงละเมิดในทุกรูปแบบ    

 

“ซีพีเอฟมุ่งเน้นการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ให้ความสำคัญกับความเสมอภาคทางเพศ และการลดความเหลื่อมล้ำ คุ้มครองกลุ่มเปราะบางทั้งกลุ่มแรงงานข้ามชาติ และแรงงานคนพิการ รวมทั้งบูรณาการทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานเด็กอย่างจริงจัง ซึ่งสอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)” นางสาวพิมลรัตน์กล่าว 

 

ซีพีเอฟประกาศความมุ่งมั่นในเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงานที่ดีผ่านนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและนโยบายด้านการจ้างงานและการบริหารแรงงาน  โดยการจ้างแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในทุกมิติ รวมถึงการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างมีจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยอายุขั้นต่ำในการจ้างงาน ไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ เคารพความแตกต่างและปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียม 

 

บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (มูลนิธิ LPN) ตั้งแต่ปี 2560 จัดการอบรมให้พนักงานมีความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีส่วนพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติ พร้อมทั้งดำเนินช่องทางการรับฟังเสียงพนักงานผ่านองค์กรกลาง “ศูนย์ Labour Voices Hotline by LPN” เพื่อให้พนักงานทุกคนสะดวกใจในการร้องเรียนปัญหาและข้อเสนอแนะ ช่วยให้บริษัทฯ สามารถปรับปรุงมาตรการต่างๆ ให้สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนได้ทันสถานการณ์ และในปีนี้ บริษัทฯ ยังได้เดินทางไปเยี่ยมแรงงานข้ามชาติที่เคยมาทำงานกับซีพีเอฟถึงภูมิลำเนาในประเทศกัมพูชา และส่งเสริมตัวแทนจัดหาแรงงานในประเทศต้นทางดำเนินการจัดหาแรงงานด้วยความรับผิดชอบและโปร่งใส ตอกย้ำความมุ่งมั่นของซีพีเอฟในการป้องกันการใช้แรงงานผิดกฎหมายทุกรูปแบบตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน 

 

แนวทางหนึ่งที่ซีพีเอฟพยายามลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการสนับสนุนให้พนักงานทุกภาคส่วนเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ ซึ่งเป็นกลุ่มตัวแทนของพนักงานจากทุกระดับและสายงาน เพื่อเปิดโอกาสในการเสนอแนะให้บริษัทฯ พิจารณาปรับปรุงในด้านสวัสดิการ สภาพแวดล้อมการทำงาน และการบริหารจัดการด้านแรงงานที่ไม่เหมาะสม โดยกำหนดให้แต่ละสถานประกอบการของบริษัทฯ มีจำนวนกรรมการในคณะกรรมการสวัสดิการตามสัดส่วนของพนักงานในสถานประกอบการแต่ละแห่ง ซึ่งสูงกว่าจำนวนขั้นต่ำ 5 คนตามที่กฎหมายกำหนด โดยสูงสุดไม่เกิน 17 คน และกำหนดให้ตัวแทนลูกจ้างในคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการมีความหลากหลายครอบคลุมพนักงานทุกกลุ่มทั้งในมิติเรื่องเพศ สัญชาติ ศาสนา และความพิการ 

 

อีกทั้งในกรณีที่คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาไม่มีความครอบคลุมกลุ่มเปราะบางดังกล่าว บริษัทฯ ก็จะจัดให้มีคณะอนุกรรมการสวัสดิการเพื่อให้ครอบคลุมความหลากหลายของพนักงาน ซึ่งเป็นแนวทางส่งเสริมให้พนักงานทุกคน ทุกระดับ ทุกกลุ่ม ได้มีส่วนร่วมในการแสดงมุมมอง ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่างๆ  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงด้านสวัสดิการให้พนักงานทุกคนได้อย่างเสมอภาค 

 

บริษัทฯ ยังมีการจัดอบรมให้ความรู้ และร่วมพัฒนาคู่ค้าธุรกิจ และเกษตรกรมีการจัดจ้างแรงงานอย่างถูกต้อง  ไม่มีการใช้แรงงานผิดกฎหมายทุกรูปแบบรวมทั้งการใช้แรงงานเด็ก  นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังได้บูรณาการความร่วมมือกับองค์กรทุกภาคส่วน เพื่อป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์และลดความเสี่ยงการใช้แรงงานเด็กในห่วงโซ่ผลิตอาหาร ผ่านความร่วมมือจัดตั้งและดำเนินงาน ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (Songkhla Fishermen Life Enhancement Center หรือ ศูนย์ FLEC) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมประมง ที่อยู่ในจังหวัดสงขลา พร้อมทั้งสนับสนุนให้ลูกหลานแรงงานข้ามชาติได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ซึ่งตั้งแต่เริ่มโครงการในปี 2559 จนถึงปี 2564 ศูนย์ FLEC ได้มีส่วนช่วยบุตรหลานแรงงานข้ามชาติในภาคประมงจังหวัดสงขลากว่า 200 คนเข้าถึงระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนาทักษะความรู้เหมาะสมกับช่วงวัย./  

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ จับมือ กรุงเทพโปรดิวซ์ รณรงค์หยุดเผา แจ้งเบาะแสเผาแปลงข้าวโพด ผ่านแอป ฟอร์ ฟาร์ม  หวังพิชิตฝุ่น PM2.5
26 มี.ค. 2567
ซีพีเอฟ จับมือ กรุงเทพโปรดิวซ์ รณรงค์หยุดเผา แจ้งเบาะแสเผาแปลงข้าวโพด ผ่านแอป ฟอร์ ฟาร์ม  หวังพิชิตฝุ่น PM2.5
22 มี.ค. วันน้ำโลก “ซีพีเอฟ” ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ร่วมอนุรักษ์น้ำ ตลอดห่วงโซ่การผลิต
22 มี.ค. 2567
22 มี.ค. วันน้ำโลก “ซีพีเอฟ” ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ร่วมอนุรักษ์น้ำ ตลอดห่วงโซ่การผลิต
ผลิตภัณฑ์ซีพีเอฟ 584 รายการ ได้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์จาก อบก. หนุนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
22 มี.ค. 2567
ผลิตภัณฑ์ซีพีเอฟ 584 รายการ ได้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์จาก อบก. หนุนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
47 ปี “หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จ.ฉะเชิงเทรา”
12 มี.ค. 2567
47 ปี “หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จ.ฉะเชิงเทรา”
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x