โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า
การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าซึ่งเป็นการรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นต้นทางความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรต่างๆ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญสำหรับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของบริษัทแล้ว เรายังร่วมพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชน รวมไปถึงสร้างจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยมีกรอบการดำเนินงาน ดังนี้
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
คู่ค้าธุรกิจ
ตั้งแต่ปี 2566 กิจการประเทศไทยร่วมมือกับบริษัท นิชิเร เฟรช อิงค์ คู่ค้าผู้ผลิตอาหารทะเลแช่แข็งประเทศญี่ปุ่น ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ โดยปลูกและดูแลไม้ชายเลนสะสมกว่า 1,200 ต้น ในป่าชายเลน ต.ท่าพริก จ.ตราด เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นต้นทางของความมั่นคงทางอาหาร
โครงการซีพีเอฟ ปันรู้ ปลูกรักษ์
ตั้งแต่ปี 2566 กิจการประเทศไทยดำเนินโครงการซีพีเอฟ ปันรู้ ปลูกรักษ์ ร่วมกับโรงเรียนและชุมชนรอบสถานประกอบการ เพื่อสร้างการรับรู้ ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกรักในธรรมชาติ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดูแลและหวงแหนทรัพยากรในพื้นที่ของตัวเอง เป็นแนวร่วมรักษ์โลกอย่างยั่งยืนไปกับบริษัทที่มีการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย และสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องและขับเคลื่อนงานร่วมกัน ผ่านกิจกรรม 4 ฐานเรียนรู้ ได้แก่
- ฐานโลกรวน รู้จักภาวะโลกรวน การป้องกันและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติ
- ฐานขยะแปลงร่าง แปลงขยะให้มีค่า ด้วยหลักการ 3Rs (Reduce Reuse Recycle) ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ ต่อยอดสู่ "ธนาคารขยะ" ในโรงเรียนและชุมชน
- ฐานต้นกล้าสู่ป่าใหญ่ ฟื้นฟูป่าบก-ป่าชายเลน สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
- ฐานความปลอดภัย ความรู้เรื่องความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนที่อยู่ใกล้ฟาร์มและโรงงานของบริษัทและมีนักเรียนและชุมชนเข้าร่วมโครงการสะสมกว่า 13,840 คน ใน 87 โรงเรียน ครอบคลุม 22 จังหวัด
โครงการ Restore the Ocean
ตั้งแต่ปี 2565 กิจการประเทศไทยร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ได้แก่ หน่วยงานราชการท้องถิ่น ชุมชนรอบสถานประกอบการ เพื่อแก้ปัญหาขยะทะเลที่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพชายฝั่งและความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ผ่านการดำเนินโครงการ ดังนี้
โครงการกับดักขยะทะเล |
โครงการเก็บขยะชายหาด |
กิจการประเทศไทยได้ร่วมกับชุมชนในตำบลบางหญ้าแพรก จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ปากแม่น้ำท่าจีนและเชื่อมต่อกับทะเลอ่าวไทย โดยมุ่งเน้นเป็นด่านแรกในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อลดการทิ้งขยะ เก็บและคัดแยกขยะที่ถูกต้อง มีการบริหารจัดการขยะที่เก็บได้ตามหลักการ 3Rs และช่วยลดปริมาณขยะในคูคลอง
นอกจากนี้ บริษัทได้ร่วมกับ Precious Plastic Bangkok สนับสนุนให้ความรู้และเครื่องมือในการ Upcycling ฝาขวดน้ำพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของชุมชน
|
บริษัทสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมพิทักษ์ทะเลและชายฝั่งให้กับพนักงาน ชุมชนรอบสถานประกอบการ หน่วยงานราชการท้องถิ่น และหน่วยงานภาคประชาสังคม ในการร่วมเก็บขยะบริเวณชายหาดและป่าชายเลน ใน 7 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ระยอง ตราด ชุมพร ตรัง สงขลา และพังงา โดยในปี 2567 มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 2,000 คน และมีเครือข่ายการดำเนินงานที่เข้าร่วมกว่า 80 องค์กร เก็บขยะทะเลได้กว่า 7,500 กิโลกรัม
|
โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูนกกระเรียน
กิจการประเทศเวียดนาม ร่วมกับอุทยานแห่งชาติจัมจิม จังหวัดดงทัป องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย มูลนิธิเครนนานาชาติ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูนกกระเรียนเป็นระยะ 10 ปี (2565–2575) ในอุทยานแห่งชาติจัมจิม จังหวัดดงทัป ซึ่งนกกระเรียนเป็นนกที่มีสภานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (VU) ในบัญชีแดงของไอยูซีเอ็น (IUCN Red List) โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำนกกระเรียนกลับถิ่น ฟื้นฟูธรรมชาติ และสร้างความสมดุลให้ระบบนิเวศ และกำหนดแนวทางการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน
🌳 ปลูกต้นไม้และฟื้นฟูพื้นที่ป่า
🐦 เพาะพันธุ์และปล่อยนกกระเรียนสู่ธรรมชาติ
📚 ส่งเสริมความรู้ด้านการอนุรักษ์ให้เด็กและชุมชน
💰 สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
“เราเริ่มจาก คนเลี้ยงนก แล้วนกเลี้ยงคน เชื่อมสองวัฒนธรรมไทย-เวียดนาม สร้างความร่วมมือที่ลึกซึ้ง พร้อมถอดบทเรียนจากความสำเร็จในประเทศไทยมาต่อยอดให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน”
คุณมนตรี สุวรรณโพธิ์ศรี รองประธานกรรมการ กิจการประเทศเวียดนาม
โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน
ตั้งแต่ปี 2557 ซีพีเอฟดำเนินโครงการอนุุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสาคร ระยอง และตราด รวมพื้นที่กว่า 2,700 ไร่ (432 เฮกตาร์) ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์ป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการอนุบาลสัตว์น้ำ นับเป็นการพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพจากต้นน้ำที่ส่งผลไปสู่ความสมบูรณ์ของทะเลชายฝั่ง และยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชุมชนใกล้เคียงสามารถใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับการฟื้นฟูที่ดีขึ้น
การสำรวจความหลายหลายทางชีวภาพ
ในปี 2566 – 2567 กิจการประเทศไทยร่วมกับ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำรวจความหลากหลายของนก แมลง และปลา ในพื้นที่อนุรักษ์ป่าชายเลน ตำบลท่าพริก จังหวัดตราด เนื่องจากพื้นที่ป่าชายเลนเป็นแหล่งอาหารสำคัญของนก แมลง และปลา จึงสามารถใช้เป็นดัชนี้ชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้ และร่วมกับสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย สำรวจนก ในพื้นที่อนุรักษ์ป่าชายเลน ตำบลบางหญ้าแพรก จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหากินของนกประจำถิ่นและและอยู่ในเส้นทางของนกอพยพ
โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง
โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง เป็นโครงการที่ดำเนินงานในรูปแบบยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรป่าต้นน้ำของประเทศ โดยบริษัทได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ คือ กรมป่าไม้และชุมชนโดยรอบผืนป่า มีเป้าหมายการดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำลุ่มน้ำป่าสักให้กับสังคมและชุมชน ตั้งแต่ปี 2559 ได้ดำเนินการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำลุ่มน้ำป่าสักครอบคลุมพื้นที่ 11,971 ไร่ ซึ่งมีรูปแบบการปลูกป่าที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นและสามารถย่นระยะเวลาการฟื้นฟูป่า โดยร่วมกับกรมป่าไม้สำรวจพื้นที่และกำหนดวิธีการปลูกให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ระบบนิเวศ ความหลากหลากหลายทางชีวภาพ และการกักเก็บคาร์บอน อีกทั้งได้ร่วมกับชุมชนดำเนินโครงการปลูกผักปลอดสารและโครงการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาน้ำจืด สร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชุมชนโดยรอบพื้นที่โครงการ
การสำรวจความหลายหลายทางชีวภาพ
ตั้งแต่ปี 2562 กิจการประเทศไทยได้ร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยภาควิชาการและภาครัฐในการสำรวจชนิด ปริมาณ ความชุกชุม ของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าทั้ง ผ่านการเดินสำรวจ ใช้ตาข่ายหรือหลุมดัก และ Camera Trap เพื่อใช้เป็นข้อมูลความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในการจัดการพื้นที่และเป็นแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่ได้
หมายเหตุ:
- สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ตามบัญชีแนบท้าย กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
- บัญชีหมายเลข 2 ตามอนุสัญญา CITES: เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ใกล้สูญพันธุ์ สามารถค้าได้แต่ต้องมีการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ที่มากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อการอยู่รอดของชนิดพันธุ์
การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้นอกจากการที่ได้พื้นที่ป่าไม้กลับมาแล้วนั้น สิ่งหนึ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความสำเร็จในการฟื้นฟูป่าคือ ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืชและสัตว์ป่า รวมไปถึงการกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ป่าเป็นแหล่งน้ำให้พืชและสัตว์ในพื้นที่ และให้กับชุมชนโดยรอบทั้งในช่วงน้ำแล้งและน้ำหลาก บริษัทร่วมกับคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำรวจการกักเก็บน้ำในพื้นที่เข้าพระยาเดินธงหลังจากดำเนินโครงการ(น่าจะใส่ไปด้วยว่าดำเนินโครงการอะไร) พบว่า มีปริมาณการกักเก็บน้ำในดินและปริมาณน้ำในแหล่งน้ำในพื้นที่ รวมกว่า 580,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นมูลค่าของระบบนิเวศ 12 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมบริเวณใกล้เคียงถึง ร้อยละ 45%
โครงการป่าในฟาร์ม
บริษัทส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ฟาร์มและโรงงาน หรือ การทำ Green Belt มาอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจพื้นที่สีเขียวภายในฟาร์มและโรงงาน พบว่ายังมีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกต้นไม้ และต้นไม้เดิมที่มีอยู่สามารถที่เพิ่มมูลค่าได้ บริษัทเล็งเห็นถึงการขยายผลรูปแบบการดำเนินงาน 4 แนวทาง เพื่อให้เป็นต้นแบบในการสร้างพื้นที่สีเขียวและการเพิ่มมูลค่าของต้นไม้ โดยเริ่มฟาร์มต้นแบบที่ ฟาร์มบ้านธาตุ จังหวัดสระบุรี ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนการขอรับรองคาร์บอนเครดิตจากการปลูกต้นไม้ ผ่านโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program): T-VER โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และจะขยายผลไปยังฟาร์มและโรงงานอื่นๆ ต่อไป
โครงการกล้าจากป่าพนาในเมือง
กิจการประเทศไทย ร่วมกับ สำนักเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร สำรวจและออกแบบในการพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่สีเขียวและศูนย์การเรียนรู้ “ป่าฉลาดพลาดไม่ได้” ซึ่งได้แบ่งพื้นที่เป็น 4 โซนด้วยกัน คือ 1. ป่าสีสัน พรรณไม้ดอก 1. ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง 3. ป่าไม้ผล คนกินได้ 4. ป่าดั้งเดิม ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อสร้างความตระหนัก การมีส่วนร่วมและเป็นพื้นที่พักผ่อนให้กับประชาชนรอบพื้นที่โครงการ พร้อมกับการส่งมอบกล้าไม้ให้แก่ชาวกรุงเทพฯ ได้นำไปปลูกในพื้นที่ของตนเอง เป็นการลงมือทำเพื่อช่วยให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองสีเขียว
โครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในประเทศเวียดนาม
กิจการประเทศเวียดนามได้ตอบรับและร่วมดำเนินโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศเวียดนาม เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีการตั้งเป้าหมายปลูกต้นไม้ 1.5 ล้านต้น ภายในปี 2568 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในและนอกสถานประกอบการ โดยร่วมกับหน่วยงานราชการท้องถิ่นทั่วประเทศ