เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความเป็นเลิศควบคู่ไปกับสร้างความยั่งยืนเพื่อโลกที่ดีกว่าของคนรุ่นถัดไปภายใต้กลยุทธ์ นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainovation)
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
บริษัทให้ความสำคัญต่อความมั่นคงของน้ำในกระบวนการผลิต จึงมีการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกพื้นที่ดำเนินงานโดยใช้ข้อมูลในอดีต เพื่อหลีกเลี่ยงการดำเนินงานพื้นที่ดังกล่าว สำหรับพื้นที่ดำเนินงานปัจจุบัน บริษัทวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลปริมาณการดึงน้ำมาใช้ของบริษัทร่วมกับการประเมินความเสี่ยงผ่านเครื่องมือ Aqueduct Water Risk Atlas ที่พัฒนาโดย World Resources Institute (WRI) เพื่อประเมินภาวะขาดแคลนน้ำ (Baseline Water Stress) ในพื้นที่ดำเนินงาน ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถจัดลำดับความสำคัญของการจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริษัทใช้ผลการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณากำหนดพื้นที่เป้าหมายในการบริหารจัดการน้ำเพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนรอบข้างและใช้ทรัพยากรน้ำอย่างสอดคล้องตามกฎระเบียบของแต่ละพื้นที่
การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ
บริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำ จึงดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำเป็นประจำ โดยหัวข้อการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังนี้
ขอบเขตการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำในภาพรวมครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่คู่ค้า ไปจนถึงการดำเนินงานของซีพีเอฟ และลูกค้า (อาทิ การใช้ผลิตภัณฑ์) รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ โดยพิจารณาทั้งตำแหน่งที่ตั้งและประเภทกิจกรรม การประเมินฯ จัดทำผ่านเครื่องมือและฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับระดับสากล เช่น ENCORE Biodiversity Module, WRI Aqueduct และ WWF Water Risk Filter นอกจากนี้ การประเมินฯ ยังครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ฉากทัศน์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ-สังคม และฉากทัศน์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทางกายภาพ เช่น SSP1 RCP2.6, SSP3 RCP7.0, SSP5 RCP8.5 และ MICRO A1B ในแบบ optimistic, medium และ pessimistic
ผลการประเมินฯ ช่วยให้บริษัททราบถึงกระบวนการในห่วงโซ่คุณค่า กลุ่มคู่ค้า และกิจกรรมทางธุรกิจที่ต้องมุ่งเน้นในการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบ รวมถึงชี้ให้เห็นจุดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับน้ำในการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจและการวางแผนทางการเงินเพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นด้านน้ำ ทั้งในการดำเนินธุรกิจและในห่วงโซ่คุณค่า ทั้งนี้ พื้นที่ดำเนินงานของบริษัทที่ได้รับการระบุว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงจากเครื่องมือและฐานข้อมูลระดับสากลต่างๆ จะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำเชิงลึกเพิ่มเติมโดยพิจารณาจากบริบทท้องถิ่น (Area-based Assessment) เพื่อยืนยันสถานะการเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง
มาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำ
บริษัทคำนึงถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการคัดเลือกสถานที่ตั้งสำหรับพื้นที่ดำเนินงานใหม่ทั้งหมด โดยครอบคลุมความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง
นอกจากนี้ CPF ยังมีมาตรการในการบริหารจัดการน้ำสำหรับพื้นที่ดำเนินงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น
  • การจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำและแผนการบรรเทาผลกระทบที่จำเพาะกับพื้นที่ โดยมีการกำกับดูแลจากผู้บริหารระดับสูง
  • การทบทวนแผนรับมือความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ที่จำเพาะกับพื้นที่
  • การติดตามตัวชี้วัดทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับน้ำทั้งภายในและภายนอกอย่างใกล้ชิด
  • การติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ และการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำอย่างใกล้ชิด
  • การวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำและจัดให้มีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอย่างต่อเนื่อง
  • การปรับปรุงหรือติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำเพิ่มเติม
  • การสำรวจความคิดเห็นชุมชนและจัดทำแผนการมีส่วนร่วมกับชุมชน
  • การร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับท้องถิ่นบนประเด็นต่างๆ
  • การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกเกี่ยวกับมาตรการการบริหารจัดการน้ำ
  • การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง และการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพน้ำ
กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำ

การประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการรับมือน้ำท่วม น้ำแล้ง เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ-ลานีญา

ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ธุรกิจสัตว์บก กิจการประเทศไทย มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมในพื้นที่ดำเนินงานของบริษัท อาทิ โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานแปรรูปขั้นต้นและโรงงานอาหาร และในฟาร์มของคู่ค้าธุรกิจ โดยคำนึงจากข้อมูลในอดีตเพื่อกำหนดแผนรับมือในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พิจารณาครอบคลุมทั้งพื้นที่ดำเนินงาน การขนส่งปัจจัยการผลิตเข้า และการขนส่งสินค้าขาออก นอกจากนี้ยังมีคณะทำงานติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดในช่วงที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมเพื่อบรรเทาและรับมือผลกระทบได้อย่างทันท่วงที

สำหรับพื้นที่ที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำแล้ง บริษัทมีมาตรการต่างๆ อาทิ การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำในฟาร์มและโรงงานให้ดียิ่งขึ้นภายใต้หลัก 3Rs การลดการใช้น้ำในการเตรียมโรงเรือน การปรับเวลาการใช้น้ำของระบบระเหย (Evaporator) ซึ่งใช้ควบคุมอุณหภูมิโรงเรือนให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ รวมถึงการขุดและสร้างบ่อผ้าใบเพิ่มเติมเพื่อรองรับน้ำฝน และการเจาะแหล่งน้ำบาดาล พร้อมเพิ่มความถี่ในการสำรวจจุดรั่วไหลเพื่อลดการสูญเสียน้ำ นอกจากนั้นบริษัทยังสนับสนุนคู่ค้าธุรกิจให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดในนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทและคู่ค้าธุรกิจ

cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x