เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความเป็นเลิศควบคู่ไปกับสร้างความยั่งยืนเพื่อโลกที่ดีกว่าของคนรุ่นถัดไปภายใต้กลยุทธ์ นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainovation)
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
CPF มอบทุนการศึกษา สร้างผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารสู่เวทีโลก
23 ส.ค. 2562
CPF มอบทุนการศึกษา สร้างผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารสู่เวทีโลก

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) จัดงาน CPF Scholarship Day 2019 มอบทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีแก่นักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2019 จำนวน 44 ทุน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ร่วมสร้างบุคคลคุณภาพและยกระดับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารในเวทีโลกอย่างยั่งยืน
 
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ให้เป็นมืออาชีพ เพื่อรองรับกลยุทธ์การเติบโตของธุรกิจ ทั้งในประเทศไทยและกิจการในต่างประเทศที่ ซีพีเอฟ เข้าไปลงทุน ดังนั้น “การสร้างคน” จึงเป็นเรื่องที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับนักศึกษาจากคณะอุตสาหกรรมเกษตรเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะกลับไปทำงานในประเทศของตน ซึ่งจะนำองค์ความรู้และประสบการณ์กลับไปพัฒนาประเทศของตนเองได้ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่วนบัณฑิตชาวไทย ก็สามารถปฏิบัติงานในประเทศไทยหรือไปปฏิบัติงานในประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้
 
“การพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญแบบมืออาชีพ เป็นนโยบายสำคัญที่ ซีพีเอฟ ดำเนินการภายใต้ปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน คือ เป็นประโยชน์ต่อประเทศที่ ซีพีเอฟ เข้าไปลงทุน เป็นประโยชน์ต่อประชาชนของทุกประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ ในลำดับสุดท้าย ซึ่งเป็นค่านิยมที่ ซีพีเอฟ ใช้ในการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน” นายประสิทธิ์ กล่าว
 
ดร.ถิรนันท์ ศรีกัญชัย คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ควบคู่การทำงานจริง หรือ Work-based Education ที่มีการเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียน 3 เดือน สลับกับฝึกงานในสถานประกอบการจริงอีก 3 เดือน สลับกันไปมาเช่นนี้ตลอดหลักสูตรปริญญาตรี ซึ่งนักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 3 ปี 6 เดือน แบ่งเป็นการเรียนภาคทฤษฎีรวม 43% และภาคปฏิบัติในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ทันสมัยมาตรฐานโลก หรือในโรงงานแปรรูปอาหารมาตรฐานโลกอีก 57% โดยในชั้นปีที่ 4 นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติงานในภาคธุรกิจจริงอย่างต่อเนื่องถึง 6 เดือน ซึ่งนักศึกษาต่างชาติก็จะได้กลับไปฝึกงาน ณ ประเทศที่ตนเองได้รับทุนการศึกษา ทำให้บัณฑิตที่จบจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร PIM พร้อมที่จะปฏิบัติงานในฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพทันทีที่เรียนจบ

“คณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้บริหารมืออาชีพจาก ซีพีเอฟ มาร่วมออกแบบหลักสูตร และมาช่วยสอนเป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชาต่างๆ มากกว่า 100 ท่าน โดยการนำประสบการณ์ทำงานจริงมาสอนให้นักศึกษาได้มีพื้นฐานความรู้แบบมืออาชีพ และที่โดดเด่นที่สุดคือ การที่นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าฝึกปฏิบัติงานจริง ในฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารระดับโลกของซีพีเอฟ ได้เรียนรู้ สัมผัสบรรยากาศ สภาพแวดล้อมจากการทำงานจริงและได้แก้ปัญหาจริง ซึ่งในปีนี้ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่บัณฑิตรุ่นแรก ของสาขาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม จำนวน 44 คน ได้เข้าทำงานกับ ซีพีเอฟ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การเรียนร่วมกันระหว่างนักศึกษาต่างชาติและนักศึกษาไทย ยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เป็น buddy ช่วยแปลภาษาและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ จนเกิดเป็นมิตรภาพ มีความกล้าแสดงออกและสื่อสารกันได้อย่างดี" ดร.ถิรนันท์ กล่าว

ในปี 2562 นี้ นับเป็นปีที่ 5 ที่ซีพีเอฟ มอบทุนให้กับนักศึกษาไทย และเป็นปีที่ 2 ที่มอบทุนให้กับนักศึกษาต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาจาก 17 ประเทศที่ ซีพีเอฟ เข้าไปลงทุน ได้รับคัดเลือกเพื่อรับทุนการศึกษาและเข้ามาศึกษาในประเทศไทย โดยในปีนี้ มีผู้ผ่านการคัดเลือก 15 คน จาก 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ กัมพูชา เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และตุรกี ซึ่งนักศึกษาต่างประเทศเหล่านี้ จะเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีร่วมกับนักศึกษาไทยที่ผ่านการคัดเลือกอีก 29 คน ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Science Degree) สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม (Farm Technology Management: FTM) และ สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร (Food Processing Technology Management : PTM)บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) จัดงาน CPF Scholarship Day 2019 มอบทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีแก่นักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2019 จำนวน 44 ทุน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ร่วมสร้างบุคคลคุณภาพและยกระดับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารในเวทีโลกอย่างยั่งยืน
 
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ให้เป็นมืออาชีพ เพื่อรองรับกลยุทธ์การเติบโตของธุรกิจ ทั้งในประเทศไทยและกิจการในต่างประเทศที่ ซีพีเอฟ เข้าไปลงทุน ดังนั้น “การสร้างคน” จึงเป็นเรื่องที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับนักศึกษาจากคณะอุตสาหกรรมเกษตรเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะกลับไปทำงานในประเทศของตน ซึ่งจะนำองค์ความรู้และประสบการณ์กลับไปพัฒนาประเทศของตนเองได้ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่วนบัณฑิตชาวไทย ก็สามารถปฏิบัติงานในประเทศไทยหรือไปปฏิบัติงานในประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้
 
“การพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญแบบมืออาชีพ เป็นนโยบายสำคัญที่ ซีพีเอฟ ดำเนินการภายใต้ปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน คือ เป็นประโยชน์ต่อประเทศที่ ซีพีเอฟ เข้าไปลงทุน เป็นประโยชน์ต่อประชาชนของทุกประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ ในลำดับสุดท้าย ซึ่งเป็นค่านิยมที่ ซีพีเอฟ ใช้ในการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน” นายประสิทธิ์ กล่าว
 
ดร.ถิรนันท์ ศรีกัญชัย คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ควบคู่การทำงานจริง หรือ Work-based Education ที่มีการเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียน 3 เดือน สลับกับฝึกงานในสถานประกอบการจริงอีก 3 เดือน สลับกันไปมาเช่นนี้ตลอดหลักสูตรปริญญาตรี ซึ่งนักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 3 ปี 6 เดือน แบ่งเป็นการเรียนภาคทฤษฎีรวม 43% และภาคปฏิบัติในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ทันสมัยมาตรฐานโลก หรือในโรงงานแปรรูปอาหารมาตรฐานโลกอีก 57% โดยในชั้นปีที่ 4 นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติงานในภาคธุรกิจจริงอย่างต่อเนื่องถึง 6 เดือน ซึ่งนักศึกษาต่างชาติก็จะได้กลับไปฝึกงาน ณ ประเทศที่ตนเองได้รับทุนการศึกษา ทำให้บัณฑิตที่จบจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร PIM พร้อมที่จะปฏิบัติงานในฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพทันทีที่เรียนจบ

“คณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้บริหารมืออาชีพจาก ซีพีเอฟ มาร่วมออกแบบหลักสูตร และมาช่วยสอนเป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชาต่างๆ มากกว่า 100 ท่าน โดยการนำประสบการณ์ทำงานจริงมาสอนให้นักศึกษาได้มีพื้นฐานความรู้แบบมืออาชีพ และที่โดดเด่นที่สุดคือ การที่นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าฝึกปฏิบัติงานจริง ในฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารระดับโลกของซีพีเอฟ ได้เรียนรู้ สัมผัสบรรยากาศ สภาพแวดล้อมจากการทำงานจริงและได้แก้ปัญหาจริง ซึ่งในปีนี้ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่บัณฑิตรุ่นแรก ของสาขาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม จำนวน 44 คน ได้เข้าทำงานกับ ซีพีเอฟ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การเรียนร่วมกันระหว่างนักศึกษาต่างชาติและนักศึกษาไทย ยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เป็น buddy ช่วยแปลภาษาและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ จนเกิดเป็นมิตรภาพ มีความกล้าแสดงออกและสื่อสารกันได้อย่างดี" ดร.ถิรนันท์ กล่าว

ในปี 2562 นี้ นับเป็นปีที่ 5 ที่ซีพีเอฟ มอบทุนให้กับนักศึกษาไทย และเป็นปีที่ 2 ที่มอบทุนให้กับนักศึกษาต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาจาก 17 ประเทศที่ ซีพีเอฟ เข้าไปลงทุน ได้รับคัดเลือกเพื่อรับทุนการศึกษาและเข้ามาศึกษาในประเทศไทย โดยในปีนี้ มีผู้ผ่านการคัดเลือก 15 คน จาก 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ กัมพูชา เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และตุรกี ซึ่งนักศึกษาต่างประเทศเหล่านี้ จะเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีร่วมกับนักศึกษาไทยที่ผ่านการคัดเลือกอีก 29 คน ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Science Degree) สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม (Farm Technology Management: FTM) และ สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร (Food Processing Technology Management : PTM)

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน “Asia Pacific’s Best Company 2025” โดยนิตยสาร TIME ร่วมกับ Statista
03 ก.ค. 2568
ซีพีเอฟได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน “Asia Pacific’s Best Company 2025” โดยนิตยสาร TIME ร่วมกับ Statista
CPF คว้ารางวัลใหญ่ ระดับ Asia และในประเทศ
27 มิ.ย. 2568
CPF คว้ารางวัลใหญ่ ระดับ Asia และในประเทศ
ซีพีเอฟ ติดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 ปี 2025 ตอกย้ำความเป็นผู้นำระดับภูมิภาค
17 มิ.ย. 2568
ซีพีเอฟ ติดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 ปี 2025 ตอกย้ำความเป็นผู้นำระดับภูมิภาค
ซีพีเอฟเปิดเวทีแห่งโอกาส สร้างความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ในงาน Global Sourcing Expo 2025
02 มิ.ย. 2568
ซีพีเอฟเปิดเวทีแห่งโอกาส สร้างความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ในงาน Global Sourcing Expo 2025
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x