เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
น้ำมันพืช น้ำมันจากสัตว์ เลือกประกอบอาหารอย่างถูกวิธี เพื่อสุขภาพแข็งแรง
11 พ.ย. 2563
น้ำมันพืช น้ำมันจากสัตว์ เลือกประกอบอาหารอย่างถูกวิธี เพื่อสุขภาพแข็งแรง

การบริโภคไขมันจากน้ำมันพืชหรือน้ำมันจากสัตว์ ขึ้นอยู่กับรสนิยมหรือความชื่นชอบของแต่ละบุคคล เช่น บางคนชอบใช้น้ำมันหมู เพราะรู้สึกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ซึ่งในสมัยก่อนเราใช้น้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าวในการปรุงอาหารมาอย่างยาวนาน เพราะหาได้ง่าย และเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง (น้ำมันหมู 40% น้ำมันมะพร้าว 88%) ทนความร้อนได้ดี

 

สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคควรตระหนักคือ ทั้งน้ำมันพืชและน้ำมันจากสัตว์ ต่างก็ให้พลังงานต่อหน่วยน้ำหนักเท่ากัน คือในน้ำมัน 1 กรัม จะให้พลังงาน 9 แคลอรี่ ดังนั้น ไม่ว่าจะบริโภคน้ำมันอะไรก็ตาม หากทานมากเกินไป ย่อมส่งผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้ทั้งสิ้น

 

การปรุงอาหารมีผลในการได้รับไขมันเข้าสู่ร่างกายเกินความจำเป็น จึงควรลดการกินอาหารทอดเป็นประจำ เนื่องจากระหว่างการทอดอาหาร น้ำในอาหารจะถูกขับออกมาและน้ำมันจะเข้าไปแทนที่ ปริมาณน้ำมันที่ดูดซับในอาหารประมาณร้อยละ 30 - 40 จึงทำให้เราได้รับน้ำมันมากกว่าที่ควร ที่สำคัญ คือผู้บริโภคต้องเลือกใช้น้ำมันให้เหมาะกับประเภทการปรุง ดังนี้

1. การทอดในน้ำมันท่วม จะใช้น้ำมันมากและใช้ความร้อนสูง ควรเลือกใช้น้ำมันปาล์ม, น้ำมันถั่วลิสง, น้ำมันหมู

2. การผัด โดยปกติจะใช้น้ำมันน้อย และใช้ความร้อนปานกลาง ชนิดของน้ำมันที่ควรนำมาประกอบอาหาร ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันรำข้าว เป็นต้น

3. การใช้น้ำมันปรุงสลัด จะใช้น้ำมันเพียงเล็กน้อย และไม่ใช้ความร้อนในการปรุง น้ำมันควรเลือกใช้คือ น้ำมันมะกอก (extra virgin)

 

วิธีการง่ายๆ ในการสังเกตว่าใช้น้ำมันตรงกับประเภทการปรุงอาหารหรือไม่ ให้ดูที่จุดเกิดควันของน้ำมัน (smoke point) ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่น้ำมันเกิดการแตกตัวหรือสลายตัว ทำให้เกิดควันและอาจมีกลิ่นไหม้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้านำน้ำมันที่มีจุดเกิดควันต่ำๆ เช่น น้ำมันงา ไปใช้ในการทอดที่อุณหภูมิสูง ใช้เวลาทอดนาน ก็จะมีควันดำและเหม็นไหม้ นอกจากนี้ จุดเกิดควันของน้ำมันนี้ยังอาจก่อให้เกิดสารประกอบที่มีพิษต่างๆ

 

ข้อควรระวัง คือ การนำน้ำมันที่ใช้แล้วกลับมาใช้ทอดซ้ำอีก เพราะส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก น้ำมันที่ผ่านการทอดอาหารซ้ำหลายครั้งจะมีลักษณะทางกายภาพเปลี่ยนไป เช่น จุดเกิดควันต่ำลง ความหนืดมากขึ้น เป็นฟอง สีคล้ำลง เป็นต้น และส่งผลให้คุณภาพของน้ำมันลดลง การทอดอาหารทำให้เกิดสารประกอบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นกลุ่มสารโพลาร์ (polar compounds) และกลุ่มสารนอนโพลาร์ (nonpolar compounds) มากมายที่เป็นพิษต่อร่างกาย สารโพลาร์และสารโพลีไซคลิกอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน {polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs)} สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิด และสารโพลาร์ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย นอกจากนี้ สารประกอบที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของน้ำมันทอดอาหารซ้ำเป็นพิษต่อเซลล์ ทำให้เซลล์ตายได้และส่งผลต่อความผิดปกติของเซลล์ การศึกษาทางระบาดวิทยาพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งปอดของผู้หญิงจีนและไต้หวันที่ไม่สูบบุหรี่ แต่สูดไอระเหยของน้ำมันจากการผัดหรือทอดอาหารซึ่งมีสารก่อมะเร็งบางชนิดที่ก่อให้เกิดเนื้องอกในปอด

 

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ประกาศห้ามใช้น้ำมันปรุงหรือทอดอาหารที่มีสารโพลาร์เกินร้อยละ 25 กรัมต่อน้ำมันทอดอาหาร 100 กรัม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 283 (พ.ศ. 2547) และฉบับที่ 347 (พ.ศ. 2555) ส่วนระดับสารเบนโซ(เอ)ไพรีน [Benzo (a) pyrene] ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่มสารประกอบโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ในประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดทั้งในน้ำมันและไขมันปรุงอาหารใหม่และน้ำมันทอดซ้ำ ในขณะที่สหภาพยุโรปกำหนดปริมาณสารเบนโซ(เอ) ไพรีน ในน้ำมันและไขมันที่ใช้เป็นอาหารให้มีได้ไม่เกิน 2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม หรือส่วนในพันล้านส่วน (part per billion)

 

ดังนั้น ผู้บริโภคจึงต้องใส่ใจกับการเลือกชนิดของไขมันให้เหมาะสมกับวิธีการปรุง ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำแล้ว และควรต้องคำนึงถึงปริมาณไขมันที่เหมาะสมต่อวัน  อีกทั้งทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุขภาพที่ดีอยู่คู่กับเราตลอดไป./

 

ดร.ศิริมา พ่วงประพันธ์

ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กิจกรรมอื่น ๆ
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
ซีพีเอฟ เปิดกระบวนการผลิตไส้กรอกซีพี ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก
01 พ.ย. 2566
ซีพีเอฟ เปิดกระบวนการผลิตไส้กรอกซีพี ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
11 ต.ค. 2566
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x