เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
โภชนาการอาหารที่ดี รากฐานของสุขภาพที่แข็งแรง
09 ธ.ค. 2563
โภชนาการอาหารที่ดี รากฐานของสุขภาพที่แข็งแรง

ตามคำจำกัดความขององค์กรอนามัยโลกคำว่า “สุขภาพ” หมายถึง สุขภาวะ (Well being) ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ใจ จิตวิญญาณ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ซึ่งโภชนาการถือว่าเป็นรากฐานของสุขภาพ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรรู้และเข้าใจหลักโภชนาการอาหารที่ถูกต้อง โภชนาการอาหารที่ดีส่งผลทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์และสติปัญญา ทำให้ร่างกายแข็งแรงเจริญเติบโตเต็มที่ มีภูมิคุ้มกันที่ดี ไม่แก่ก่อนวัย นอกจากนี้ยังมีผลทางวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลว่า อาหารที่รับประทานส่งผลต่อการพัฒนาทางสมองของมนุษย์ และยังมีรายงานเพิ่มเติมว่า หากขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหรือโปรตีนสมบูรณ์จะส่งผลเสียร้ายแรงต่อการเติบโตของสมอง

 

การบริโภคอาหารเปรียบเสมือนพลังงานที่ทำให้เราสามารถดำรงชีวิต ขับเคลื่อนระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น การหายใจ การย่อยอาหาร รวมถึงกิจกรรมในแต่ละวัน เช่น การเดิน วิ่ง ซึ่งแต่ละคนมีความต้องการและเผาผลาญพลังงานในร่างกายไม่เท่ากัน โดยเฉลี่ยผู้ใหญ่เพศชายมีความต้องการพลังงานประมาณ 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน ส่วนผู้ใหญ่เพศหญิงมีความต้องการพลังงานเฉลี่ยประมาณ 1,700 กิโลแคลอรีต่อวัน ดังนั้น หากทานอาหารในปริมาณที่มากเกินกว่าความต้องการของร่างกายก็จะส่งผลให้เกิดการสะสมของไขมัน และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือหากทานอาหารในปริมาณน้อยและได้สารอาหารไม่ครบถ้วนก็จะทำให้ไม่มีกำลังเพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารที่จำเป็น

 

สารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานในแต่ละวัน ได้แก่ กลุ่มคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55-60 และควรเป็นแบบเชิงซ้อน เช่น ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท กลุ่มไขมันร้อยละ 25-30 เช่น ไขมันพืช ไขมันสัตว์ที่ควรเลือกทานตามความเหมาะสม กลุ่มโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์หรือถั่วต่าง ๆ เช่น ไก่ ไข่ ปลา หมู นม ประมาณร้อยละ 10-15 ส่วนกลุ่มวิตามินและแร่ธาตุต้องได้รับจากการบริโภคพืชผักและผลไม้ ในขณะเดียวกันควรออกกำลังกายอย่างพอดีและสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วย

 

จากการศึกษาข้อมูล HDC ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (noncommuni-cable diseases หรือ NCDs) เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งมีปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่มีรสชาติหวาน มัน เค็ม เกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ โรค NCDs เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการศึกษาและเข้าใจในเรื่องสุขภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเกิดโรคภัยต่าง ๆ

 

สำหรับฉลากโภชนาการเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคทราบข้อมูลสารอาหารที่ควรได้รับตามต้องการ เป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ หรือผู้ที่เป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งวิธีการอ่านฉลากควรเริ่มจาก 1.ดูปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค เป็นปริมาณการทานต่อครั้งที่แนะนำ 2.ดูจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ เป็นจำนวนที่บอกว่าถ้าทานครั้งละหนึ่งหน่วยบริโภคจะแบ่งได้กี่ครั้ง 3.ดูคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ว่าจะได้พลังงานเท่าใด สารอาหารอะไรบ้าง ในปริมาณเท่าใด 4.ดูร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ซึ่งได้จากการทานหนึ่งหน่วยบริโภค

 

ในปี พ.ศ. 2559 มีการปรับปรุงฉลากโภชนาการให้เห็นชัดเจนและอ่านเข้าใจง่ายขึ้น เรียกว่าฉลาก GDA (Guideline Daily Amount) หรือฉลากหวาน มัน เค็ม ที่จะแสดงข้อมูลโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ โดยแสดงค่าพลังงาน (กิโลแคลอรี) น้ำตาล (กรัม) ไขมัน (กรัม) และโซเดียม (มิลลิกรัม) ที่ฉลากด้านหน้าหรือด้านหลังของบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นได้ชัดเจน และอ่านง่าย ช่วยให้ผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการ หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม อันเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

 

ดังนั้น ผู้บริโภคควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานการผลิตที่ดี น่าเชื่อถือ มีฉลากโภชนาการให้ข้อมูลเพื่อเป็นทางเลือกสุขภาพ รวมทั้งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารที่บริโภคนั้นปลอดเชื้อ ปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ

 

ดร.พิณทิพย์ รัมภกาภรณ์

ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กิจกรรมอื่น ๆ
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
ซีพีเอฟ เปิดกระบวนการผลิตไส้กรอกซีพี ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก
01 พ.ย. 2566
ซีพีเอฟ เปิดกระบวนการผลิตไส้กรอกซีพี ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
11 ต.ค. 2566
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x