เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ประโยชน์จากปลา อุดมคุณค่าทางอาหาร
16 ธ.ค. 2563
ประโยชน์จากปลา อุดมคุณค่าทางอาหาร

หากพูดถึงแหล่งโปรตีนที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู ไข่ ยังคงมี “ปลา” ที่เป็นตัวชูโรงคุณค่าทางโภชนาการอาหารได้เป็นอย่างดี โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่แทบจะทุกเพศทุกวัยนิยมเลือกรับประทานปลา เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าเนื้อปลามีประโยชน์มากมายและดีต่อสุขภาพร่างกาย

 

สารอาหารหลักๆ ในเนื้อปลานั้นอุดมไปด้วยโปรตีนที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที นอกจากนี้ในเนื้อปลายังมีไขมันที่ดีต่อร่างกายประมาณ 1 ถึง 10% ของน้ำหนักปลา ขึ้นอยู่กับชนิดของปลา ในบรรดาไขมันที่ดีต่อร่างกายและพบได้มากในเนื้อปลา คือ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่มโอเมก้า-3 ได้แก่ กรดไขมันดีเอชเอ (DHA) และกรดไขมันอีพีเอ (EPA) ซึ่งมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย เช่น ป้องกันโรคหัวใจ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคภูมิแพ้หอบหืด อีกทั้งยังบำรุงสมองเส้นประสาทและสายตา รวมถึงการพัฒนาสมองของทารกให้สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า-3 มีประโยชน์ช่วยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด จึงมีข้อจำกัดคือ ไม่ควรบริโภคกรดโอเมก้า-3 มากจนเกินไป สำหรับปริมาณโอเมก้า-3 ที่แนะนำให้บริโภคโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) คือ ควรรับประทาน DHA และ EPA ในปริมาณ 0.3-0.5 กรัมต่อวัน หรือ ควรรับประทานปลาที่เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง

 

กรดไขมันโอเมก้า-3 พบได้ทั่วไปในปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาสำลี ปลาจาระเม็ดขาว เนื่องจากปลาเหล่านี้จะกินแพลงก์ตอนและสาหร่ายทะเลที่เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 ทำให้ปลาเหล่านี้ได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 โดยธรรมชาติ นอกจากนี้กรดไขมันโอเมก้า-3 ยังพบในกลุ่มปลาน้ำจืดหรือปลาน้ำกร่อยที่เพาะเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก ปลานิล ปลาช่อน ปลากะพงขาว ปลาทับทิม เนื่องจากในปัจจุบันเริ่มมีการเลี้ยงโดยให้อาหารที่เสริมกรดไขมันโอเมก้า-3 ให้กับปลา อีกทั้งสาเหตุเรื่องข้อจำกัดของการจับปลาทะเลในธรรมชาติและราคาของปลาทะเล จึงทำให้ผู้บริโภคหันมานิยมรับประทานปลาเพาะเลี้ยงมากขึ้น

 

สิ่งที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการบริโภคไขมันในอาหารเพื่อประโยชน์ต่อร่างกายอีกประการหนึ่ง คือ การเลือกรับประทานอาหารที่มีสัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้า-6 ต่อ กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ต่ำ (ต่ำกว่า 5) เมื่อร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า-6 มากจนเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มมีความกังวลใจเกี่ยวกับการบริโภคปลาน้ำจืดเนื่องจาก เนื่องจากในปลาน้ำจืดบางชนิดมีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-6 สูง แต่อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยวิเคราะห์สัดส่วนปริมาณของกรดไขมันโอเมก้า-6 ต่อ กรดไขมันโอเมก้า-3 ในเนื้อปลาน้ำจืด พบว่า มีกรดไขมันโอเมก้า-6 ปริมาณที่ต่ำ (ช่วง 0.5 ถึง 4.5) จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

 

นอกจากนี้ เราควรเลือกรับประทานปลาให้หลากหลายชนิด เนื่องจากปลาแต่ละชนิดจะเติบโตมาด้วยอาหารและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ควรเลือกซื้อปลาจากแหล่งที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้ ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรไทยพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาที่มีคุณภาพมากขึ้นเนื่องจากได้รับความรู้เทคโนโลยีและข่าวสารง่ายกว่าสมัยก่อน สำหรับการประกอบอาหารเมนูปลาควรเลือกวิธีการปรุงสุกที่ใช้ความร้อนไม่สูงมากนัก เช่น การนึ่ง ต้ม ผัด เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า-3 รวมไปถึงสารอาหารต่าง ๆ และวิตามินที่มีประโยชน์จะสลายตัวที่ความร้อนสูงมาก ทั้งนี้การรับประทานอาหารที่ดีนั้น แนะนำว่าควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายอย่างเหมาะสม เพียงพอ และครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน

 

ผศ.ดร. กนกรัตน์ ลิมปิโสภณ

ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร                     

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กิจกรรมอื่น ๆ
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
ซีพีเอฟ เปิดกระบวนการผลิตไส้กรอกซีพี ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก
01 พ.ย. 2566
ซีพีเอฟ เปิดกระบวนการผลิตไส้กรอกซีพี ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
11 ต.ค. 2566
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x