เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
นักวิชาการแนะ ปรับพฤติกรรมการบริโภค เลี่ยงหวาน มัน เค็ม
04 มี.ค. 2564
นักวิชาการแนะ ปรับพฤติกรรมการบริโภค เลี่ยงหวาน มัน เค็ม

จากวิกฤติโควิด-19 ที่ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญอย่างเข้มข้น และเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสนใจอย่างมาก จนทำให้อาจละเลยภัยมืดที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน นั่นคือ การบริโภคอาหารที่มีรสจัด อาทิ รสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม และส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs: Non-Communicable Diseases) เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน เป็นต้น


ผลวิจัยล่าสุด โดยเครือข่ายลดบริโภคเค็ม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Journal of Clinical Hypertension โดยความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า คนไทยบริโภคโซเดียมเกินเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำถึงเกือบ 2 เท่า โดยเฉลี่ยสูงที่สุดในภาคใต้, ภาคกลาง, ภาคเหนือ, กรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ


โดยปกติ โซเดียมหรือเกลือแกง (NaCl) นิยมใช้ในการถนอมอาหารตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น การดองเกลือ โดยโซเดียมคลอไรด์จับกับน้ำที่จำเป็นต่อการเจริญของจุลินทรีย์ส่งผลยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ทำให้สามารถเก็บอาหารได้นานขึ้น ซึ่งการใช้เกลือในอุตสาหกรรมเพื่อการถนอมอาหารรวมทั้งการปรุงรสผลิตภัณฑ์อาหาร เกลือที่ใช้ในการปรุงอาหารแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เกลือสมุทร (เกลือจากทะเล) เกลือสินเธาว์ (เกลือจากบ่อเกลือภูเขา) เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน (เกลือที่มีการเสริมแร่ธาตุไอโอดีน)


การบริโภคเกลือหรือโซเดียมมากเกิน สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายคือ ส่งให้ไตทำงานเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากต้องกรองที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น และเกี่ยวข้องต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น ความผิดปกติของการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจรวมถึงการเต้นของหัวใจ การบริโภคโซเดียมมากเกินไปอาจส่งผลต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เนื่องจากโซเดียมเร่งการขับแคลเซียมมาใช้ แต่อย่างไรการตามผู้ที่ออกกำลังกายและมีการสูญเสียเหงื่อมาก อาจต้องการโซเดียมที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากโซเดียมสามารถสูญเสียออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อ


ปัจจุบันมีตัวช่วยในการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่สมดุลและเหมาะสมสำหรับผู้บริโภค ช่วยให้ผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์อาหารได้อย่างเหมาะสม เช่น ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (GDA: Guideline Daily Amount) หรือฉลากหวาน มัน เค็ม ที่ระบุไว้ด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งแสดงปริมาณของ “สารอาหารสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพ 3 ชนิด” และปริมาณพลังงาน (พลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม) นอกจากนี้ ยังมีฉลากทางเลือกเพื่อสุขภาพ (Healthier Choice Logo) เป็นฉลากที่แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการพิจารณาแล้วว่ามีปริมาณ น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) สำหรับอาหารที่ได้รับสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” ไม่ใช่อาหารเพื่อสุขภาพทั้งหมด ควรเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพและต้องควบคุมปริมาณการกินให้เหมาะสม ต้องไม่บริโภคมากจนเกินความต้องการของร่างกาย รวมถึงออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ


ผศ.ดร.กิติพงศ์ อัศตรกุล 

ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



Link : https://www.prachachat.net/hilight-prachachat/news-622580

กิจกรรมอื่น ๆ
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
ซีพีเอฟ เปิดกระบวนการผลิตไส้กรอกซีพี ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก
01 พ.ย. 2566
ซีพีเอฟ เปิดกระบวนการผลิตไส้กรอกซีพี ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
11 ต.ค. 2566
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x