เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ไส้กรอก - แฮม ทางเลือกสำหรับคนรักโปรตีน ทานได้อย่างพอดี เพื่อความปลอดภัย
21 ก.ค. 2564
ไส้กรอก - แฮม ทางเลือกสำหรับคนรักโปรตีน ทานได้อย่างพอดี เพื่อความปลอดภัย

ปัจจุบัน การทานอาหารที่สะอาด มีคุณภาพ ปลอดภัย เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ ยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ยิ่งทำให้ผู้บริโภคพิถีพิถันในการเลือกอาหารมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสื่อต่างๆรวมถึงการแชร์ข้อมูลในโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับการทานเนื้อแปรรูป เช่น  ไส้กรอก แฮม มีความเสี่ยงให้เป็นมะเร็งลำไส้ ซึ่งมีการหยิบยกเรื่องนี้มากล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง และสร้างความกังวลใจให้กับผู้บริโภคที่ชอบทานเนื้อแปรรูป หรือชอบทานโปรตีนในรูปแบบของอาหารที่หลากหลายมากขึ้น 


ความเชื่อมโยงของโรคมะเร็งกับเนื้อสัตว์มีประเด็นหลักๆ คือ การเติมสารเจือปนในอาหาร ประเภทไนไตรท์ (Nitrite) หรือไนเตรท (Nitrate) ในการผลิตเนื้อแปรรูป ซึ่งเมื่อไนไตรท์ที่หลงเหลือจากการเติมลงในสูตรการผลิตมากเกินไปทำปฏิกิริยากับสารประกอบเอมีนที่อยู่ในเนื้อสัตว์ตามธรรมชาติ อาจจะก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง หรือที่เรียกว่า ไนโตรซามีน (Nitrosamine) แต่สารก่อมะเร็งชนิดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายนัก ยังต้องมีสภาวะที่จำเพาะอื่นๆ เพิ่มเติมจึงจะเกิดได้ เช่นให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงมากๆ เป็นเวลานาน หรืออยู่ในสภาวะที่เป็นกรดแก่ หากไม่มีสภาวะเหล่านี้ก็ไม่สามารถเกิดไนโตรซามีนได้


เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์สำคัญของการเติมไนไตรท์ ซึ่งคือเพื่อป้องกันการเจริบเติบโตของจุลินทรีย์ชนิด คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หากมีการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ และอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมที่เชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้เจริญได้ เช่น สภาวะไร้อากาศจากการบรรจุแบบสุญญากาศ ก็จะทำให้สร้างสารพิษที่เรียกว่า โบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum toxin) ที่สามารถทำอันตรายให้กับผู้บริโภคได้หากรับประทานเข้าไป ซึ่งการเติมไนไตรท์จะสามารถยับยั้งการเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้


คนจำนวนหนึ่งอาจเข้าใจว่าการเติมไนไตรท์ในเนื้อสัตว์จะทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการเติมไนไตรท์มีข้อกำหนดตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขควบคุมว่าต้องเติมในปริมาณที่กำหนด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะหากฝ่าฝืนจะถือว่าผิดกฎหมาย จะถูกดำเนินคดีจนอาจถึงขั้นปิดกิจการได้ 


สำหรับประเด็นที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้เนื้อแปรรูปเป็นสารก่อมะเร็งอยู่ในกลุ่ม 1 คือสามารถก่อมะเร็งในมนุษย์ เนื่องจากเคยมีการศึกษาว่าหากใส่วัตถุเจือปนอาหารอย่างไม่ระมัดระวัง “อาจ” มีโอกาสเกิดสารกลุ่มไนโตรซามีนซึ่งจะมีอันตรายเทียบเท่าบุหรี่หรือสารหนู ซึ่งอาจเป็นการรายงานข้อมูลที่รุนแรงทำให้ประชาชนตื่นตะหนก แต่อย่างที่บอกไปเบื้องต้นว่า การเกิดไนโตรซามีนนั้น ต้องอยู่ในสภาวะจำเพาะจริงๆ เท่านั้น 


จึงแนะนำได้ว่ายังสามารถรับประทานเนื้อแปรรูปได้ในปริมาณที่เหมาะสม  และควรทานโปรตีนจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม เช่น ไข่ เต้าหู้ และถั่ว โดยรับประทานให้มีความหลากหลาย และควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูปจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐานต่างๆ เช่น GMP HACCP ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือมาตรฐานตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย



ผศ.ดร. อินทาวุธ สรรพวรสถิตย์

รองคณบดี สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร 

และอาจารย์ประจำ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กิจกรรมอื่น ๆ
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
ซีพีเอฟ เปิดกระบวนการผลิตไส้กรอกซีพี ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก
01 พ.ย. 2566
ซีพีเอฟ เปิดกระบวนการผลิตไส้กรอกซีพี ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
11 ต.ค. 2566
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x