เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
เคล็ดลับเก็บเนื้อสัตว์-ของสดอย่างถูกวิธี อยู่ได้นาน ปลอดภัย
19 พ.ค. 2564
เคล็ดลับเก็บเนื้อสัตว์-ของสดอย่างถูกวิธี อยู่ได้นาน ปลอดภัย

อาหาร คือผลผลิตหนึ่งทางการเกษตรที่มีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการทิ้งอาหารจะส่งผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ให้คำนิยาม การสูญเสียอาหาร (Food Loss) คือการสูญเสียอาหารที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิต เก็บเกี่ยวและแปรรูป สำหรับอาหารที่ถูกทิ้งหรือขยะอาหาร (Food Waste) คือ การสูญเสียอาหารในขั้นตอนการขายปลีกและการบริโภค ซึ่งเชื่อมโยงไปยังพฤติกรรมของผู้ขายปลีก ผู้บริโภค และการบริโภค โดยปกติอาหารจะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและจุลินทรีย์สามารถทำปฏิกิริยาได้ตลอดเวลา หากเก็บรักษา ทำความสะอาดไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้อาหารเน่าเสีย เป็นของเสียที่ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นการรู้และเข้าใจหลักการที่ถูกต้องจะช่วยลดของเสีย ไม่สิ้นเปลืองในการหาของใหม่มาทดแทน สามารถบริโภคอาหาร สด สะอาด ปลอดภัย ในช่วงวิกฤติโควิด-19 และช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย



วิธีปฏิบัติในการทำความสะอาด เก็บรักษาอาหาร ของสดให้อยู่ได้นาน และคงคุณค่าทางโภชนาการอาหาร สามารถแบ่งประเภท ดังนี้
1) เนื้อสัตว์ ดูความสดได้จากสีของกล้ามเนื้อควรเป็นไปตามสีธรรมชาติ เช่น เนื้อไก่ควรมีสีชมพูอ่อนๆ เนื้อหมูควรมีสีชมพู สีไม่แดงจนเกินไป ไขมันสีขาว ไม่ช้ำ ไม่มีกลิ่นคาว ไม่มีเมือก และเมื่อกดที่เนื้อต้องมีความยืดหยุ่น ไม่เป็นรอยบุ๋ม ก่อนเก็บควรทำความสะอาดทั้งชิ้น หลังจากนั้นจึงนำมาแบ่งเป็นชิ้นส่วนขนาดพอเหมาะสำหรับใช้ในการปรุงอาหารแต่ละครั้งและเก็บใส่ภาชนะที่สะอาด สำหรับการจัดเก็บนั้นมีอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญ ถึงแม้สัตว์ตายแล้วแต่ในกล้ามเนื้อยังมีเซลต่างๆที่ยังคงมีชีวิตและมีกิจกรรมต่างๆทางชีวเคมี จึงต้องหยุดปฏิกิริยาเหล่านั้นหรือชะลอให้เกิดขึ้นช้าลงซึ่งสามารถทำได้โดยการเก็บเนื้อสัตว์อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสหรือในช่องแช่แข็งจะเก็บได้นานประมาณ 6 เดือน เมื่อต้องการใช้ก็หยิบออกมาทีละส่วน นำมาพักไว้ในช่องแช่เย็นเพื่อทำละลาย และควรใช้ให้หมด


2) ไข่ไก่ เปลือกไข่จะมีลักษณะเป็นรูพรุน จึงทำให้น้ำ อากาศ ระเหยได้ในระหว่างการเก็บรักษา จึงควรเก็บในช่องแช่เย็น อุณหภูมิประมาณ 4-5 องศาเซลเซียสเพื่อช่วยให้การระเหยช้าลง นอกจากนี้ ไม่ควรล้างไข่ไก่ก่อนนำเข้าตู้เย็น เนื่องจากไข่ไก่จะมี “นวลไข่” เคลือบบริเวณเปลือกไข่เพื่อปกป้องไม่ให้น้ำและอากาศระเหยออกสู่ด้านนอก รวมถึงปกป้องไม่ให้จุลินทรีย์เข้ามาในไข่ด้วย ดังนั้น หากต้องการทำความสะอาด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดเปลือกไข่เบาๆให้แห้ง และไม่ควรเก็บนานเกิน 2 สัปดาห์



3) สัตว์น้ำ จะเสื่อมเสียได้จากการย่อยตัวเอง (Autolysis) ซึ่งจะทำให้นิ่มเละไปตามระยะเวลา โดยปกติสัตว์น้ำจะเสียเร็วกว่าเนื้อสัตว์ เนื่องจากโปรตีนของสัตว์น้ำสลายได้ง่ายทำให้แบคทีเรียเจริญได้ดี สำหรับการเลือกซื้อสัตว์น้ำต้องไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า ปลามีเนื้อแน่น ไม่นิ่มจนเละ ตาใส เหงือกสีแดง กุ้งมีเนื้อแน่น หัวติดกับลำตัว เปลือกและตาใส เป็นต้น กรณีเก็บรักษาควรหั่นเนื้อปลาแยกเป็นชิ้น ล้างทำความสะอาดสิ่งปฏิกูล แบ่งเนื้อปลาเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทแยกสำหรับการประกอบอาหารแต่ละครั้ง หากเก็บเนื้อปลาในอุณหภูมิไม่เกิน 5 องศาเซลเซียสจะอยู่ได้ไม่เกิน 2 วัน หรือหากแช่แข็งในอุณหภูมิต่ำกว่าลบ 18 องศาเซลเซียส เก็บได้ไม่เกิน 3 เดือน ส่วนกุ้งสดต้องตัดหนวดออก ทำความสะอาด เก็บในภาชนะแบ่งเป็นสัดส่วน และควรเก็บในช่องแช่แข็ง



4) ผักและผลไม้ เนื่องจากยังคงมีชีวิต จึงทำให้เหี่ยว แก่ และสุกได้ ดังนั้นสิ่งที่ทำให้หยุดกระบวนการเหล่านี้ได้คือ การลดอุณหภูมิ เพราะความเย็นจะทำให้กิจกรรมต่างๆเกิดขึ้นได้ช้า นอกจากนี้ความชื้นก็เป็นปัจจัยสำคัญ หากเก็บในที่แห้งจะทำให้ผักผลไม้เหี่ยว ควรเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อรักษาความชื้น สำหรับการทำความสะอาดควรล้างผักและผลไม้ด้วยน้ำสะอาดไหลผ่าน ซึ่งจะช่วยลดสารพิษตกค้างได้ 25-63% หรือใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น แช่ผักในเบกกิ้งโซดา 15 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาด สามารถลดสารพิษตกค้าง 90-95% เป็นต้น



ผศ.ดร.รชา เทพษร
อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ข้อมูลจาก  https://www.prachachat.net/hilight-prachachat/news-672527

กิจกรรมอื่น ๆ
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
ซีพีเอฟ เปิดกระบวนการผลิตไส้กรอกซีพี ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก
01 พ.ย. 2566
ซีพีเอฟ เปิดกระบวนการผลิตไส้กรอกซีพี ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
11 ต.ค. 2566
“Meat Zero” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีช่วงเทศกาลกินเจ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x