การประเมินความเสี่ยงและตรวจสอบการดําเนินงานของคู่ค้าธุรกิจ
บริษัทประเมินความเสี่ยงคู่ค้าธุรกิจผ่านกระบวนการต่างๆ ทั้งจากข้อมูลทุติยภูมิ (Desk-research) การประเมินตนเองของคู่ค้าและ การตรวจประเมินแบบลงพื้นที่ บริษัทคัดเลือกคู่ค้าธุรกิจรายใหม่ภายใต้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพของ สินค้าและบริการ และความยั่งยืน อาทิ การตรวจสอบย้อนกลับของ ผลิตภัณฑ์ และความสอดคล้องตามกฎหมายก่อนเริ่มดําเนินการซื้อขายกับบริษัท รวมถึงการทําแบบประเมินตนเองด้านความยั่งยืน
สําหรับคู่ค้าธุรกิจรายปัจจุบัน บริษัทส่งมอบแบบประเมินตนเอง ด้านความยั่งยืน (Sustainability Risk Assessment) ให้แก่คู่ค้าซึ่งได้รับ การทบทวนอย่างสม่ำเสมอตามกรอบเวลาที่กําหนด บริษัทยังได้ระบุ คู่ค้าธุรกิจหลัก ซึ่งหมายถึงคู่ค้าธุรกิจที่มีมูลค่าการซื้อสูง คู่ค้าที่ส่งมอบ วัตถุดิบที่สําคัญต่อกระบวนการผลิต หรือคู่ค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้หรือใช้เวลานานในการหาการทดแทน โดยแบบประเมินตนเองของคู่ค้าธุรกิจหลักจะมีความเข้มข้นสูงกว่าและคู่ค้าที่เข้าเกณฑ์ความเสี่ยงสูงจะได้รับการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน ณ สถานประกอบการของคู่ค้าโดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือผู้ตรวจประเมินอิสระ บริษัทยังได้ระบุคู่ค้าที่มีนัยสําคัญ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความยั่งยืนในภาพรวมอีกด้วย
หมายเหตุ:
i ครอบคลุมกิจการประเทศไทยและเวียดนาม คู่ค้าธุรกิจที่มีนัยสําคัญ (Significant Suppliers) หมายถึงคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงด้านความยั่งยืนหรือคู่ค้าธุรกิจหลัก (Critical Suppliers) หรือทั้งสองข้อ
ii คิดเป็น 66% ของค่าใช้จ่ายในกลุ่มผู้ค้ารายหลักทางตรงทั้งหมด
ในปี 2567 บริษัทมีคู่ค้าหลักทางตรง (Critical Tier-1 Suppliers) 859 ราย และมีคู่ค้าหลักทางอ้อม (Critical Non Tier-1 Suppliers) 31 ราย (กิจการประเทศไทยและเวียดนาม)
บริษัทร่วมมือกับคู่ค้ากำหนดมาตรการแก้ไขกรณีพบความไม่สอดคล้อง และยกระดับการดำเนินงาน ของคู่ค้าผ่านกิจกรรมเพิ่มศักยภาพต่าง ๆ พร้อมบอกชมเชยคู่ค้าที่มีผลการดำเนินงานดีเยี่ยม โดยผล การประเมินความเสี่ยงในคู่ธุรกิจ ปี 2567 พบว่า หัวข้อที่คู่ธุรกิจยังคงต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม มากที่สุด คือ การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การดูแลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และการปฏิบัติด้านแรงงาน จึงได้ร่วมมือกับคู่ธุรกิจกลุ่มดังกล่าว เพื่อพัฒนาและติดตามผลการดำเนินงาน พร้อมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ การปฏิบัติด้านแรงงานที่สอดคล้องตามแนวปฏิบัติที่ดี และความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ในสถานประกอบการ
บริษัทผนวกข้อพิจารณาด้านความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกคู่ค้า เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คู่ค้าดำเนินงานสอดคล้องตามนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสําหรับคู่ค้าธุรกิจ และมีมาตรการจัดการเพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
กรณีที่คู่ค้าไม่สามารถดำเนินมาตรการแก้ไขให้สอดคล้องตามข้อกำหนดด้านความยั่งยืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเพื่อดำเนินมาตรการแก้ไขโดยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และอาจมีการเพิกถอนออกจากการเป็นคู่ค้าของบริษัท
บริษัทมีการสื่อสารให้คู่ค้าทราบถึงผลการประเมินด้านความยั่งยืนอันนำไปสู่การยกระดับผลการดำเนินงาน และอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบแสดงผลลัพธ์ในเชิงเปรียบเทียบกับคู่ค้าในกลุ่มเดียวกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา
การพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าและสร้างแรงจูงใจ
คู่ค้าธุรกิจเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญในการเติบโตอย่างยั่งยืน บริษัทจึงมุ่งมั่นสร้างความรู้ความเข้าใจและเสริมสร้างศักยภาพของคู่ค้าธุรกิจทั้งองค์กรขนาดใหญ่และผู้ประกอบการ SMEs โดยจัดกิจกรรม 3 รูปแบบ ได้แก่
ในปี 2567 หัวข้อที่บริษัทให้ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจคือ การเพิ่มประสิทธิภาพผ่านนวัตกรรมคุณภาพและความปลอดภัยของวัตถุดิบ ในด้านสังคม ได้แก่ การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน และในด้านสิ่งแวดล้อม คือ การมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero) และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การตรวจสอบย้อนกลับและห่วงโซ่อุปทานที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า รวมถึงการจัดการเพื่อลดการสูญเสียอาหาร (Food Loss) ทั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และขับเคลื่อนธุรกิจอย่างเป็นเลิศ โดยคำนึงถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน ลดความเสี่ยงด้านการหยุดชะงักทางธุรกิจ พร้อมดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมในห่วงโซ่อุปทาน
CPF Capacity Building for Partnership
ใน ปี 2567 กิจการประเทศไทยจัดกิจกรรมเพิ่มศักยภาพคู่ธุรกิจ “CPF Capacity Building for Partnership 2024” ที่มุ่งเน้นให้ความรู้เรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero) และการเตรียมความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งในแง่การเปลี่ยนผ่านและ ผลกระทบเชิงกายภาพ เช่น กฎระเบียบทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการน้ำในการดำเนินธุรกิจ เพื่อรับมือต่อภัยพิบัติ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และคุณภาพน้ำ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้รับเกียรติจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) ธนาคารกรุงเทพ และบริษัท อินโนเวชั่น ไอ จำกัด ร่วมเป็นวิทยากร โดยมีคู่ค้าเข้าร่วม 110 ราย
กิจกรรมประเทศเวียดนามจัดกิจกรรมเพิ่มศักยภาพคู่ค้า “Innovation for the Environment: The Role of Supply Chain Partners” นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม: บทบาทของพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อจุดประกายให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ภายในกระบวนการผลิต และส่งเสริมห่วงโซ่อุปทาน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยมีคู่ค้าเข้าร่วมกว่า 80 ราย พร้อมด้วยตัวแทนจากส่วนราชการ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดด่งนาย
Focus Group
สืบเนื่องจากประเทศเวียดนามได้มีการประกาศกฎหมาย Extended Producer Responsibility (EPR) หรือกฎหมายที่กำหนดให้ ผู้ผลิตรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตของสินค้า และบรรจุภัณฑ์ กิจการประเทศเวียดนามจึงได้จัดกิจกรรม Focus Group ร่วมกับองค์กร Packaging Recycling Organization Vietnam (PROVN)ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมาย EPR แก่คู่ค้ากว่า 30 ราย อันเป็นการส่งเสริมความพร้อมรับมือ ต่อการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือกฎระเบียบทางการค้า บ่มเพาะ ความร่วมมือกับคู่ค้าเพื่อยกระดับห่วงโซ่อุปทานและสนับสนุน การจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
CPF Partner Day
กิจกรรมประเทศไทยสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของคู่ค้าผ่าน CPF Partner Day 2024 ซึ่งเป็นกิจกรรมมอบรางวัลเกียรติคุณยอดคู่ค้าธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมและมีส่วนสำคัญในการยกระดับความยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล อันเป็นการส่งต่อความสำเร็จให้คู่ค้าธุรกิจเติบโตไปด้วยกัน ภายใต้แนวคิด “Go For The Future, GROW Together With SUSTAINOVATION” ตอกย้ำความมุ่งมั่นร่วมมือกับคู่ค้าพัฒนาธุรกิจ “เติบโต เคียงข้าง อย่างยั่งยืน” โดยมอบรางวัลให้คู่ค้าธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่และคู่ค้าธุรกิจที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs รวม 12 องค์กร ซึ่งมีการแบ่งรางวัลออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ CEO Award “Best Business Partner,” Rising Star Award, Best Innovation Award, Best Sustainability Award, Best Cost Competitiveness Award และ Best Quality and Supply Performance Award โดยมีคู่ค้าเข้าร่วมงานกว่า 600 องค์กร