เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI

ปัจจุบันปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากภาคธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาคพลังงาน ภาคเกษตรกรรม ภาคกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม และภาคการจัดการของเสีย เป็นต้น ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังก่อให้เกิดความแปรปรวนของภูมิอากาศอย่างรุนแรง ฤดูกาลที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น อันส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากปริมาณและคุณภาพของผลผลิตขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ การควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จากความร่วมมือกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่ประเทศต่างๆ ตั้งเป้าหมายร่วมกันขั้นพื้นฐานที่จะรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และมีความพยายามที่การจำกัดให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถลดผลกระทบทางลบต่อระบบนิเวศ สุขภาพและสุขภาวะของมนุษย์ได้ได้มากกว่าเมื่อเทียบกับจำกัดที่ 2 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นความท้าทายต่อการบริหารจัดการในทุกภาคส่วน บริษัทจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแสวงหาและพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมบรรเทาและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ซีพีเอฟจำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบริษัทได้นำแนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ หรือ The Recommendation of Taskforces on Climate-related Financial Disclosure (TCFD) มาเป็นแนวทางในการประเมินความเสี่ยงและโอกาสอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงเป็นแนวทางในการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศต่อผู้ลงทุนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนำไปวิเคราะห์ความสามารถของบริษัทในการรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทได้กำหนดเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้พลังงาน ลดปริมาณของเสียที่กำจัดด้วยการฝังกลบและการเผา และลดปริมาณการดึงน้ำมาใช้ ผ่านการดำเนินโครงการอนุรักษ์และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ควบคู่ไปกับการปรับปรุง แปรสภาพ หรือเพิ่มมูลค่าของเสียและน้ำเสีย เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า

นอกเหนือจากการบริหารจัดการกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เรายังให้ความสำคัญกับการพัฒนา “ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ” เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าและผู้บริโภคในการบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพผ่านการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนและป่าต้นน้ำ

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทตระหนักดีถึงการเผชิญผลกระทบที่เพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากความเสี่ยงของเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงต่อความมั่นคงในการส่งมอบและจัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อป้อนสู่กระบวนการผลิตของเรา บริษัทจึงได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ดังนี้

กลยุทธ์ระยะสั้น

บริษัทได้ประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน ติดตามความต้องการวัตถุดิบทางการเกษตรทั่วโลก และบริหารวัตถุดิบคงคลัง (Stock) เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง โดยติดตามความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาดอย่างใกล้ชิด ควบคู่ไปกับสำรวจแหล่งผลิตวัตถุดิบหลักที่สำคัญของเรา เพื่อเป็นทางเลือกทดแทนในกรณีที่เกิดการขาดแคลนขึ้น ขณะเดียวกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา บริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายวัตถุดิบล่วงหน้า ตลอดจนติดตามวัตถุดิบคงคลังสำรอง รวมถึงบริหารวัตถุดิบคงคลังเป็นประจำทุกวันและในทุกประเทศที่บริษัทดำเนินกิจการ นอกจากนี้ เรายังได้นำข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้สนับสนุนการวิเคราะห์แนวโน้ม สภาพภูมิอากาศในอดีต เพื่อช่วยคาดการณ์ปัจจัยแวดล้อมในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อการจัดหาวัตถุดิบในปัจจุบัน และนำไปสู่การวางแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

กลยุทธ์ระยะกลาง

บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อค้นคว้าและพัฒนาวัตถุดิบทดแทนโดยเฉพาะวัตถุดิบหลักที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ การใช้ข้าวสาลี มันสำปะหลัง กากคาโนลา หรือธัญพืชกลั่นแห้งกากดีดีจีเอส (DDGS: Distillers Dried Grains with Solubles) ทดแทนข้าวโพด ถั่วเหลือง และรำในการผลิตอาหารสัตว์ รวมถึงการใช้โปรตีนจากถั่วเหลืองและธัญพืชทดแทนปลาป่นเพื่อการผลิตอาหารกุ้ง เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาวัตถุดิบทดแทนไม่เพียงแต่ช่วยในการบริหารต้นทุน ควบคุมคุณภาพ และลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบบางชนิดในบางช่วงเวลา หากยังหมายถึงการรักษาความสามารถในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจด้วย

กลยุทธ์ระยะยาว

บริษัทตระหนักดีว่าการปรับเปลี่ยนแนวปฏิบัติด้านการเกษตรและแนวทางดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทานสามารถช่วยบรรเทาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวให้กับเกษตรกรและคู่ค้าธุรกิจ จึงมุ่งส่งเสริมศักยภาพของคู่ค้าวัตถุดิบทางการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน รวมถึงสามารถปรับตัวและพึ่งพาตนเองท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเติบโตไปด้วยกันได้ในระยะยาว

แนวปฏิบัติของซีพีเอฟในการก้าวสู่องค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ซีพีเอฟมุ่งสู่การกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ (Science-Based Targets Initiative: SBTi) ที่สอดคล้องกับข้อตกลงปารีสในการรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยมีแนวทางปฏิบัติในการก้าวสู่องค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization)

  • เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เลือกใช้อุปกรณ์และ เครื่องจักรที่ใช้พลังงานต่ำ มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงและการปล่อยของเสียในกระบวนการผลิต
  • นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับกระบวนการผลิต ใช้ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ควบคุมด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: loT) ลดขั้นตอนและเวลาในการผลิต เพื่อลดการใช้พลังงานในโรงงาน
  • ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน และลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ เช่น น้ำมันเตา และน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นๆ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนจากชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และแสงอาทิตย์
  • เพิ่มโอกาสทางธุรกิจจากผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ โปรตีนจากพืช (Plant-Based Protein) เป็นต้น
  • สร้างโรงงานและฟาร์มแห่งอนาคต ออกแบบโรงงานและฟาร์มโดยคำนึงถึงการใช้พลังงานต่ำ และสามารถหมุนเวียนทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อลดการปล่อยของเสียสู่ภายนอก

ส่วนที่ 2 การกักเก็บคาร์บอน (Carbon Removal)

  • สนับสนุนการยุติการตัดไม้ทำลายป่า การตัดไม้ทำลายป่านอกจากจะทำให้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพยังทำให้เกิดการทำลายคาร์บอนที่สะสมอยู่ในดิน ซีพีเอฟจึงประกาศเป้าหมายต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2573 ครอบคลุมกิจการซีพีเอฟ รวมถึงคู่ค้าซึ่งจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรให้แก่ซีพีเอฟ ได้แก่ ข้าวโพด ปลาป่น น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง และมันสำปะหลัง
  • ฟื้นฟูป่าและปลูกต้นไม้ อนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูป่า (ป่าบกและป่าชายเลน) รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการ ปลูกต้นไม้ในพื้นที่สถานประกอบการ โดยมีเป้าหมาย เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสม 200,000 ตัน ครอบคลุมพื้นที่ 20,000 ไร่ (3,200 เฮกตาร์) ภายในปี 2573

นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังสำรวจโอกาสด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้พลังงานจากกังหันลม การสรรหาแหล่งพลังงานทางเลือก การดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) เป็นต้น

บริษัทยังมุ่งมั่นดำเนินงานอย่างโปร่งใส โดยได้เปิดเผยผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเราในรายงานความยั่งยืนประจำทุกปี และเปิดเผยข้อมูลให้กับองค์กร Carbon Disclosure Project (CDP) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558

cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x