เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
บริษัทตระหนักดีว่าการพัฒนาคู่ค้าธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน นำมาซึ่งโอกาสและความรับผิดชอบของบริษัทในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม บริษัทจึงได้จัดทำ “นโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ” ในปี 2557 และดำเนินงานตามกรอบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบและยั่งยืนบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2558
การติดตามการบริหารงานของคู่ค้าธุรกิจให้สอดคล้องตามกฎหมายและนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนฯ ของบริษัทฯ ดำเนินการผ่านกระบวนการตรวจประเมินโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอก และ/หรือ หน่วยงานภายใน โดยผู้ตรวจประเมินจะออกรายงานขอให้มีการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action Request: CAR) และกำหนดให้คู่ค้าธุรกิจส่งแผนพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน (Corrective Action Plan: CAP) หากพบการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย รวมถึงนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนฯ ของบริษัท
สามารถศึกษารายละเอียดแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซอุปทานอย่างยั่งยืนของซีพีเอฟ หรือ CPF Supply Chain ESG Management Approach ได้ที่นี่
เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการบริหารความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทอย่างต่อเนื่องในระยะยาว บริษัทได้กำหนดจัดงานประจำปี ประกอบด้วย
  • CPF Supply Chain Sustainability Focus Group เพื่อสื่อสารประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญจากผลการตรวจประเมินแก่คู่ค้าธุรกิจและแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นระหว่างกัน
  • CPF Capacity Building for Partnership เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ถึงประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน พร้อมพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันให้พร้อมรับมือกับความท้าทายทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เป้าหมายและความก้าวหน้า
Capacity Building: การสร้างเสริมขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบสู่ความยั่งยืน
เป้าหมายปี 2558
  • ส่งมอบนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนฯ ให้แก่คู่ค้าธุรกิจหลัก (Critical Supplier) ในกิจการประเทศไทยใน 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารสัตว์ กลุ่มเครื่องปรุง และกลุ่มบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
  • ส่งเสริมการตรวจประเมินตนเองด้านความยั่งยืนให้แก่คู่ค้าธุรกิจหลักในกิจการประเทศไทย
ผลการดำเนินงาน
  • 100% ของคู่ค้าธุรกิจหลักเป้าหมายได้รับการสื่อสารนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนฯ โดยร้อยละ 99 ลงนามรับทราบนโยบายฯ
  • 100% ของคู่ค้าธุรกิจหลักเป้าหมายดำเนินการประเมินตนเองด้านความยั่งยืน โดยบริษัทได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อสร้างความเข้าใจในแบบประเมิน พร้อมดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของผลการประเมินตนเองผ่านการสุ่มสัมภาษณ์ และ/หรือ เข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการของคู่ค้าธุรกิจ
เป้าหมายปี 2560
  • ขยายการส่งมอบนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนฯ ให้แก่คู่ค้าธุรกิจหลักในกิจการประเทศเวียดนาม
ผลการดำเนินงาน
  • 100% ของคู่ค้าธุรกิจหลักในกิจการประเทศเวียดนามได้รับการสื่อสารนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนฯ ในงาน CPV Supply Chain Sustainability Conference 2017 พร้อมประกาศเป้าหมายตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจด้านความยั่งยืนให้แล้วเสร็จภายในปี 2563
  • 100% ของคู่ค้าธุรกิจหลักในกิจการประเทศเวียดนามได้รับการสื่อสารนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนฯ ในงาน CPV Supply Chain Sustainability Conference 2017 พร้อมประกาศเป้าหมายตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจด้านความยั่งยืนให้แล้วเสร็จภายในปี 2563
เป้าหมายปี 2561
  • ฝึกอบรมคู่ค้าธุรกิจหลักในประเด็นสำคัญที่พบจากผลการประเมินตนเองและการตรวจประเมิน
ผลการดำเนินงาน
  • จัดบรรยายพิเศษ (Class-room training) เรื่องสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีคู่ค้าธุรกิจเข้าร่วม 95 บริษัท รวม 173 ราย
เป้าหมายปี 2562
  • ขยายการตรวจประเมินตนเองด้านความยั่งยืนไปยังกลุ่มคู่ค้าธุรกิจอื่นๆ ในกิจการประเทศไทย
ผลการดำเนินงาน
  • สื่อสารและส่งมอบนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนฯ ฉบับปรับปรุงให้แก่คู่ค้าธุรกิจ
  • จัดสัมมนาประจำปี 2562 เพื่อขยายการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ โดยความร่วมมือกับภาครัฐและคู่ค้าธุรกิจต้นแบบ พัฒนาคู่ค้าธุรกิจของบริษัทให้ครอบคลุมทั้ง 13 กลุ่มผลิตภัณฑ์ในกิจการประเทศไทย
Supplier Sustainability Audit: การตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจด้านความยั่งยืน
เป้าหมายปี 2560
  • คู่ค้าธุรกิจหลักที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk Critical Supplier) ทั้งหมดในกิจการประเทศไทยได้รับการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน
ผลการดำเนินงาน
  • ร้อยละ 94 ของคู่ค้าธุรกิจหลักที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk Critical Supplier) ในกิจการประเทศไทยได้รับการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของคู่ค้าธุรกิจหลักทั้งหมดที่อยู่ในแผนการตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจด้านความยั่งยืน ทั้งนี้ คู่ค้าธุรกิจปลาป่นได้รับการตรวจประเมินด้านความยั่งยืนแล้วเสร็จ ตั้งแต่ปี 2558
เป้าหมายปี 2561
  • ร้อยละ 53 ของคู่ค้าธุรกิจหลัก ในกิจการประเทศไทยได้รับการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน
  • ร้อยละ 20 ของคู่ค้าธุรกิจหลัก ในกิจการประเทศเวียดนามได้รับการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน
เป้าหมายปี 2563
  • 100% ของคู่ค้าธุรกิจหลักในกิจการประเทศไทยและเวียดนามได้รับการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน
การดำเนินงาน
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x