เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
เกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบพันธสัญญาถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มสำคัญของซีพีเอฟ ตามหลักคิดที่ว่า เกษตรกรคือคู่ชีวิต บริษัทจึงมีเป้าหมายสูงสุดในการสร้างความมั่นคงทางอาชีพ สร้างรายได้ และความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกร อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศและความมั่นคงทางอาหารของโลกด้วย ซีพีเอฟได้พัฒนารูปแบบฟาร์มในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรขุนในรูปแบบพันธสัญญา (Contract Farming) มาโดยตลอด จนปัจจุบันกลายเป็นฟาร์มสุกรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Farm) ซึ่งต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์จากชุมชนก่อน และอยู่ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติเพียงพอเพื่อไม่สร้างผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ มีการติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพในการบำบัดมูลสุกรและน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงสุกร เพื่อช่วยลดกลิ่นและก๊าซมีเทนที่จะออกสู่ชั้นบรรยากาศ ด้วยเป้าหมายไม่ปล่อยน้ำทิ้งออกภายนอกฟาร์ม (Zero Discharge) โดยจะนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไปเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ ส่งผลให้ชุมชนและฟาร์มอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
และในปี 2564 ซีพีเอฟดำเนินการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรขุนแบบประกันรายได้ เพื่อบริหารจัดการผลสัมฤทธิ์ทางสังคมจากการดำเนินโครงการฯ ในมิติของต้นทุน ผลประโยชน์ และความเสี่ยง เปรียบเทียบกับโอกาสการลงทุนในด้านต่างๆ เพื่อการเลือกจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิผล และได้รับการรับรองการคำนวณโดย บริษัท แอลอาร์คิวเอ (ประเทศไทย) จำกัด โดยผลจากการประเมินพบว่า เกษตรกรในโครงการฯ ได้รับผลตอบแทนทางสังคม (SROI) 4.28 เท่า มีมูลค่าผลสัมฤทธิ์ทางสังคมรวม 4,574 ล้านบาท ทั้งนี้ ผลกระทบทางสังคมจากโครงการฯ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) 9 ข้อ จากทั้งหมด 17 ข้อ โดยสามารถศึกษารายละเอียดโครงการเพิ่มเติมได้ที่นี่
ซีพีเอฟทุ่มเทในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าควบคู่กับการสนับสนุนการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชุมชนโดยรอบ ภายใต้โครงการสำคัญ คือ โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลนตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน และต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวิถีชุมชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดระยอง โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง ตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน ส่งเสริมอาชีพชุมชนเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาน้ำจืดเพื่อปล่อยลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และโครงการปลูกผักวิถีธรรมชาติ จังหวัดลพบุรี โดยทั้งสองโครงการดำเนินงานในลักษณะยุทธศาสตร์ระยะยาวจึงทำให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าได้รับการฟื้นฟูเป็นแหล่งอาหารชุมชน เกิดการรวมกลุ่มประกอบอาชีพมีรายได้เพิ่ม บริษัทจึงได้ทำการประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักการตาม Natural Capital Protocol และ Social & Human Capital Protocol ของสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Business Council on Sustainable Development: WBCSD) และได้รับการรับรองการคำนวณโดย บริษัท แอลอาร์คิวเอ (ประเทศไทย) พบว่า ทั้ง 5 โครงการก่อให้เกิดมูลค่าที่แท้จริงเป็นจำนวนเงินกว่า 8 ล้านบาท
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว ค่าแรงจากการจ้างงานในชุมชน การจำหน่ายผลิตภัณฑ์และผลผลิตจากธรรมชาติ รวมถึงมีแหล่งอาหารที่มั่นคงของชุมชนเพิ่มขึ้น รวมมูลค่าด้านเศรษฐกิจกว่า 24 ล้านบาท*
ผลกระทบด้านสังคม คนในชุมชนได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสังคม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่า มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมและเผยแพร่องค์ความรู้ รวมมูลค่าด้านสังคมกว่า 5 ล้านบาท*
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์ขึ้น ช่วยป้องกันการกัดเซาะแนวชายฝั่ง เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำตามธรรมชาติ ขณะที่ป่าบกช่วยนำสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์กลับคืนสู่ชุมชน ประชากรปลาในระบบนิเวศของเขื่อนเพิ่มขึ้น และป่าทั้งสองยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสิ่งแวดล้อมด้วย รวมมูลค่าด้านสิ่งแวดล้อมกว่า 5 ล้านบาท*
  • *ก่อนหักค่าดำเนินการโครงการต่างๆ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x