เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
กรมปศุสัตว์ยันฟาร์มมาตรฐานไม่มีการลักลอบใช้ยาปฏิชีวนะเกินกำหนด ย้ำทำผิดมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
23 ม.ค. 2560
กรมปศุสัตว์ยันฟาร์มมาตรฐานไม่มีการลักลอบใช้ยาปฏิชีวนะเกินกำหนด ย้ำทำผิดมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

กรมปศุสัตว์ คุมเข้มการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ตามมาตรฐานสากล ย้ำเนื้อสัตว์จากฟาร์มมาตรฐานปลอดภัย100% เตือนเกษตรกรลักลอบใช้ยาเถื่อนมีความผิดทั้งจำทั้งปรับ 

นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์มุ่งพัฒนาการผลิตเนื้อสัตว์เพื่อยกระดับมาตรฐานให้สูงยิ่งขึ้น ด้วยการควบคุม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังยาหรือสารตกค้างในเนื้อสัตว์อย่างเข้มงวดที่สอดคล้องกับมาตรฐานโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์เข้าสู่ระบบมาตรฐานฟาร์ม ซึ่งปัจจุบันมีฟาร์ม 10,000 แห่งทั่วประเทศ ที่ได้รับการรองฯ โดยกรมปศุสัตว์ได้ควบคุมและติดตามการใช้ยาสัตว์ในฟาร์มเหล่านี้อย่างเข้มงวดท้้งเรื่องวิธีการใช้ คุณภาพของยาสัตว์ และตรวจสอบการตกค้างของยาทั้งก่อนและหลังการเชือดชำแหละ ดังนั้นผู้บริโภคควรเลือกซื้อสินค้าปศุสัตว์ที่มาจากฟาร์มมาตรฐานฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะและสารตกค้างแน่นอน 

ขณะเดียวกันได้เร่งปราบปรามฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ลักลอบใช้ยาเถือน-ใช้เกินขนาด ตลอดจนผู้ประกอบการนำเข้า ผลิต หรือขายผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารสัตว์และยารักษาสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต ที่เป็นสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือสินค้าเลียนแบบที่ส่งผลเสียด้านสุขภาพต่อสัตว์โดยตรง ซึ่งผิดกฎหมายตามมาตรา 12 แห่ง พรบ.ยา พศ.2510 ฐานขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 10,000 บาท และมาตรา72(4) ขายยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

“ที่ผ่านมาชุดเฉพาะกิจกรมปศุสัตว์ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการลักลอบผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์และยาสัตว์เถื่อนอย่างต่อเนื่อง ขอเตือนผู้ลักลอบให้หยุดการกระทำดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และขอแนะนำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากฟาร์มมาตรฐานกรมฯ ที่มั่นใจในความปลอดภัยได้ 100%” 

น.สพ.อภัย กล่าวว่ากรมปศุสัตว์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินแนวทางการควบคุมยาสัตว์ในกระบวนการผลิตสินค้าปศุสัตว์ และกำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560–2564 เพื่อป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา และกำกับดูแลการใช้ยาปฏิชีวนะในภาคปศุสัตว์อย่างเหมาะสม โดยกรมปศุสัตว์เดินหน้าควบคุมยาสัตว์ด้วย 6 แนวทาง คือ กำหนดนโยบายและพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพในปศุสัตว์เพื่อการบริโภค, การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาต้านจุลชีพ, การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ, การกำกับดูแลด้านกฎหายในการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์, พัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการดำเนินงานแก้ปัญหา และศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง 

“แผนยุทธศาสตร์เรื่องเชื้อดื้อยามีเป้าหมายที่จะลดการป่วยจากเชื้อดื้อยาลง 50% มีปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์ลดลง 20% ปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ลดลง 30% ประชาชนมีความรอบรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและมีความสามารถในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ในระดับดีมากเพิ่มขึ้น 20% และระบบจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพมีสมรรถนะตามเกณฑ์สากลไม่ต่ำกว่าระดับ4” น.สพ.อภัย กล่าว 

จากการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนและดำเนินการอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการมุ่งเน้นสร้างระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์ม ส่งผลให้การใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์ปัญหาและนโยบายของประเทศในการแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างเป็นระบบ และแสดงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการร่วมกันแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพกับนานาประเทศทั่วโลก ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียวของโลก (One World, One Health) ทั้งสุขภาพมนุษย์ สุขภาพสัตว์ และสุขภาพสิ่งแวดล้อม 

น.สพ.อภัย กล่าวอีกว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ ทั้งรายใหญ่ รายกลาง และเกษตรกรรายย่อย ได้ให้ความร่วมมือในการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ว่าได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัยจากยาและสารตกค้าง สามารถสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิต โดยเฉพาะการผลักดันจุดจำหน่ายเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรฐานปศุสัตว OK ที่ดำเนินการแล้วถึงกว่า 2,700 ร้าน 

ขณะเดียวกัน กรมปศุสัตว์ ยังร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก หรือ FAO Regional Office for Asia and the Pacific (FAO-RAP) ในการประชุมโครงการ The Enhancing National Capacities for Antimicrobial Resistance Risk Management in Animal Food Production in Thailand เพื่อเสริมสร้างความสามารถของกรมปศุสัตว์ในการเฝ้าระวังปัญหาการดื้อยา และการใช้ยาต้านจุลชีพ รวมถึงการจัดการความเสี่ยงเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในปศุสัตว์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

***************** 
ข้อมูล/ข่าว : กรมปศุสัตว์สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์และกองควบคุมอาหารและยาสัตว์

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x