เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ซีพีเอฟ ถ่ายทอดเคล็ดลับเลี้ยงหมู-ไก่ แนะเกษตรกรใช้หลัก 5 หัวใจการผลิต ได้สัตว์ปลอดโรค-ปลอดภัย
09 พ.ค. 2560
ซีพีเอฟ ถ่ายทอดเคล็ดลับเลี้ยงหมู-ไก่ แนะเกษตรกรใช้หลัก 5 หัวใจการผลิต ได้สัตว์ปลอดโรค-ปลอดภัย

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ถ่ายทอดเคล็ดลับการเลี้ยงสัตว์ด้วยหลักการ 5 หัวใจการผลิต พันธุ์ดี-อาหารดี-โรงเรือนดี-การจัดการดี-ป้องกันโรคเข้มงวด ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ทุกประเภทสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อให้ได้ผลผลิตสัตว์ที่ปลอดโรคและปลอดภัย สู่ผู้บริโภค

น.สพ.นรินทร์ ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ศูนย์วินิจฉัยโรคสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์ตลอดห่วงโซ่ เพื่อให้ได้ผลผลิตสัตว์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดสาร ปลอดภัย และปลอดจากโรคระบาด โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับ 5 หัวใจของการเลี้ยงสัตว์ นับตั้งแต่ การพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์สัตว์ โดยทีมงานนักวิชาการด้านปรับปรุงพันธุ์  ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ขณะเดียวกันสัตว์ต้องได้รับอาหารที่ดี จากการที่คณะผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตอาหารสัตว์ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาสูตรอาหารสำหรับสุกรและไก่ พร้อมคัดสรรวัตถุดิบชั้นดีผ่านการตรวจสอบว่าปลอดภัย ทำให้ได้อาหารที่มีคุณภาพมาตรฐานสม่ำเสมอ และตรงกับความต้องการของสัตว์ในแต่ละช่วงอายุ ควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ดี ภายใต้เทคโนโลยีโรงเรือนปิดระบบปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ (Evaporative Cooling System) หรืออีแวป ที่สามาถควบคุมสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม สัตว์จึงอยู่อย่างสบาย ไม่เครียด กินอาหารได้มาก และเจริญเติบโตดี ไม่ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา

ขณะเดียวกัน ต้องมีการจัดการฟาร์มและสภาพแวดล้อมที่ดี โดยยึดหลักมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์เพื่อการผลิตสัตว์ที่เป็นมาตรฐาน นอกจากนี้ซีพีเอฟยังได้ได้ริเริ่มนำเทคโนโลยีระบบโรงเรือนปิดควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์มาใช้กับการเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก ผู้เลี้ยงสามารถตรวจสอบและติดตามการเจริญเติบโตของสัตว์ในฟาร์มได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องเข้าโรงเรือนช่วยป้องกันโรคได้อีกทางหนึ่ง

“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การผลิตสัตว์มีประสิทธิภาพคือ การป้องกันโรคที่ดี โดยแยกพื้นที่ภายในฟาร์มและภายนอกให้ชัดเจน บุคลากรที่จะเข้าไปภายในฟาร์ม จะต้องผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนชุดที่ฟาร์มจัดไว้ ยานพาหนะที่จำเป็นต้องเข้าไปภายในฟาร์มจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อ และมีระบบการตรวจติดตามสุขภาพสุกรอย่างสม่ำเสมอ ในห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันโรค รวมถึงนำระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) มาใช้ และสื่อสารให้ฟาร์มของบริษัทและฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์ ทั้ง 5 หัวใจการผลิต ทำให้สัตว์ในฟาร์มของทั้งซีพีเอฟและของเกษตรกรทุกแห่ง มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดจากโรคระบาด และปลอดสาร” น.สพ.นรินทร์ กล่าว

ทั้งนี้ หลักการ 5 หัวใจทั้งพันธุ์ที่ดี อาหารดี โรงเรือนดี การจัดการดี และการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด เป็นหลักพื้นฐานของการเลี้ยงสัตว์ที่มีมาตรฐาน ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับฟาร์มของตนเองได้ตามความเหมาะสม ทั้งฟาร์มที่เลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด หรือในโรงเรือนแบบปิดที่เกษตรกรใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตสัตว์ที่มีคุณภาพ อัตราเสียหายต่ำ ต้นทุนการผลิตสัตว์ต่อหน่วยลดลง จากจำนวนสัตว์ที่จับออกได้มากขึ้น และสุดท้ายผู้บริโภคก็จะได้รับอาหารจากเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x