เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจในสภาพแวดล้อมที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน และยากต่อการคาดการณ์ ดังเช่นสถานการณ์ในปัจจุบัน บริษัทจึงให้ความสำคัญต่อการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาแนวทางการดำเนินงานที่อ้างอิงมาตรฐานสากล และบูรณาการเข้ากับการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงให้แก่พนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัท มี 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
  • พิจารณาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Establish the context)
  • ระบุความเสี่ยง/โอกาสในการดำเนินธุรกิจ (Risk & opportunity identification)
  • ประเมินและจัดอันดับความสำคัญของความเสี่ยง (Risk assessment)
  • กำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง ติดตามและรายงานผล (Risk treatment, monitor and report)
รูปภาพแสดงกระบวนการบริหารความเสี่ยง
พิจารณาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โดยการวิเคราะห์สภาวะของโลกในระดับมหภาค ธุรกิจและอุตสาหกรรม ตลอดจนตนเอง เพื่อให้เห็นถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้มในอนาคต
ระบุความเสี่ยง/โอกาสในการดำเนินธุรกิจ ที่อาจกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ของบริษัท ครอบคลุมปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในองค์กร โดยใช้วิธีการและเทคนิคต่างๆ เช่น การสอบทานประเด็นที่อาจเกิดขึ้นจากภายในบริษัท การพิจารณาข้อมูลจากแหล่งภายนอกที่เชื่อถือได้ การศึกษาจากแบบสอบถามหรือแบบประเมินความเสี่ยงขององค์กรต่างๆ การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่สมมติขึ้น เป็นต้น
ประเมินและจัดอันดับความสำคัญของความเสี่ยง โดยใช้เกณฑ์การประเมินที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • บริษัทกำหนดระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ (Risk appetite) ทั้งด้านการเงิน และด้านอื่นๆ เช่น ผลตอบแทนการลงทุน การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และความปลอดภัยในการทำงาน การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
  • เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยง ถูกกำหนดขึ้นบนพื้นฐานของระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ขององค์กร โดยจะพิจารณาความเสี่ยงในมุมมองด้านผลกระทบ (Impact) และโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) จากนั้นจึงแสดงผลของความเสี่ยงบนแผนภูมิความเสี่ยง (Risk heat map)
  • การจัดอันดับความเสี่ยงสำคัญ พิจารณาจากความสัมพันธ์ของผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโอกาสที่จะเกิดของความเสี่ยงนั้น ความเสี่ยงที่เกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ถือเป็นความเสี่ยงสำคัญ ซึ่งต้องมีการระบุสาเหตุสำคัญของความเสี่ยงกำกับไว้
กำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง ติดตาม และรายงานผล เจ้าของความเสี่ยง (Risk owner) ต้องพิจารณากำหนดแนวทางการจัดการเพิ่มเติมสำหรับความเสี่ยงสำคัญ เพื่อให้ความเสี่ยงลดระดับลงมาอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ จากนั้นจะรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามรอบที่กำหนด
ทั้งนี้ในปีผ่านมา บริษัทมีการติดตามสถานการณ์ทางธุรกิจทั้งด้านการเติบโตของตลาดโปรตีนจากพืชและเซลล์สัตว์ และกระแสการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงมีการประเมินระดับความเสี่ยงดังแสดงในแผนภูมิความเสี่ยง ตลอดจนมีการดำเนินการตามแนวทางการบริหารความเสี่ยงดังนี้
รูปภาพแสดงแผนภูมิความเสี่ยง
ความเสี่ยงจากการมุ่งสู่งสังคมคาร์บอนต่ำ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นวาระสำคัญระดับโลกที่ทุกประเทศต่างร่วมกันผลักดันให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยประเทศไทยได้มีการแสดงเจตจำนงและยกระดับเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด Nationally Determined Contribution (NDC) ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) นอกจากนี้ประเทศคู่ค้าสำคัญของบริษัทก็มีการออกมาตรการต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา การผลักดันนโยบายการนำเข้าสินค้าที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าหรือมีความเสี่ยงต่อความหลากหลายทางชีวภาพสู่กลุ่มยุโรป เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการกีดกันการค้า และในการประชุมสมัยที่ 27 (COP27) แต่ละประเทศมีการส่งมอบแผนการปรับลดก๊าซเรือนกระจกระดับชาติจึงอาจส่งผลให้มีมาตรการเหล่านี้เพิ่มเติมอีก ทำให้ยอดขาย กำไร และส่วนแบ่งทางการตลาดอาจลดลง อย่างไรก็ดี หากห่วงโซ่อุปทานของบริษัทสามารถดำเนินการได้ย่อมเป็นตัวเลือกที่ดีให้แก่ผู้บริโภคเช่นกัน
การบริหารความเสี่ยง
บริษัทมีเป้าหมายเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ดังนี้
  • เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตจากการลดใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต และตั้งเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในรูปแบบต่างๆ เช่น การติดตั้งไบโอแก๊สทำให้ได้ก๊าซชีวภาพซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาผลิตกระแสไฟฟ้าในฟาร์ม ลดการใช้พลังงานฟอสซิลโดยเปลี่ยนเป็นพลังงานหมุนเวียน
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (Low Carbon Products) รวมถึงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ลดการใช้พลาสติก และสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้
  • วางแผนระบบการขนส่ง (Logistics) ให้ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดพื้นที่ว่างภายในรถ
  • ลดขยะ การสูญเสียอาหาร และขยะอาหารในกระบวนการผลิต เพื่อลดปริมาณของเสียสู่การฝังกลบและเผา
  • แก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในสถานประกอบการ อนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลน
ความเสี่ยงจากโปรตีนจากพืชและเซลล์สัตว์
ผู้บริโภคมีแนวโน้มลดการบริโภคเนื้อสัตว์ เนื่องจากมีความระมัดระวังในการบริโภค และต้องการให้ธุรกิจดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และประเด็นด้านสวัสดิภาพสัตว์ จึงคาดหวังให้ธุรกิจอาหารผลิตสินค้าที่อร่อยและดีต่อสุขภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความยั่งยืน โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2567 มูลค่าตลาดโปรตีนจากพืชทั่วโลกอาจสูงถึง 7.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562 ตลาดดังกล่าวมีทั้งผู้เล่นรายใหม่ และเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นและพัฒนาใหม่ๆ อยู่เสมอ จึงอาจเติบโตอย่างก้าวกระโดด ส่งผลกระทบต่อยอดขายในกลุ่มโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่เป็นธุรกิจหลักของบริษัทได้ ถึงแม้ว่าบริษัทจะมีสินค้าในกลุ่มดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่บริษัทก็จำเป็นต้องศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนา เนื่องจากเป็นธุรกิจใหม่ที่ยังไม่เชี่ยวชาญ
การบริหารความเสี่ยง
บริษัทมุ่งพัฒนาและนำเสนอสินค้าที่ผลิตจากโปรตีนที่หลากหลายเพื่อตอบสนองกับกระแส และความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้บริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่องโดย
  • จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก รวมถึงการต่อยอดงานวิจัยสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์
  • ศึกษาแนวโน้มพฤติกรรม วิเคราะห์ความต้องการ และพัฒนาสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น กลุ่มวีแกน กลุ่มมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น
  • พัฒนารสชาติ เนื้อสัมผัส และความหลากหลายของสินค้ากลุ่มโปรตีนจากพืชอย่างต่อเนื่อง
  • อยู่ระหว่างศึกษาถึงแนวโน้มและโอกาสในการดำเนินธุรกิจของโปรตีนจากเซลล์สัตว์
สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อการบริหารจัดการความเสี่ยง
การดำเนินการ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x