เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความเป็นเลิศควบคู่ไปกับสร้างความยั่งยืนเพื่อโลกที่ดีกว่าของคนรุ่นถัดไปภายใต้กลยุทธ์ นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainovation)
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจใน 17 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีความหลากหลายในบริบทด้านสังคม วัฒนธรรม เชื้อชาติ สัญชาติ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันขององค์กร สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ (ข้อมูลบุคลากร) บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการบริหารความแตกต่างและความหลากหลายของบุคลากร อีกทั้งให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนตลอด Employee Life Cycle ตั้งแต่การสรรหาที่พิจารณาจากคุณสมบัติที่สอดคล้องกับตำแหน่งงาน การจ่ายค่าจ้างอย่างเป็นธรรม สอดคล้องตามมาตรฐานของตำแหน่งงาน มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาถึงความจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการเติบโตในสายอาชีพ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใสและวัดผลได้จริงสอดคล้องกับการบริหารค่าตอบแทนตามผลงาน การเลื่อนระดับชั้นงานของพนักงาน เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด มีความโปร่งใส และชัดเจน ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน โดยมีเป้าหมายในปี 2573 ในการผลักดันให้ทั้งอัตราส่วนจำนวนพนักงานและค่าตอบแทนเท่าเทียมกันระหว่างพนักงานหญิงและพนักงานชายที่อยู่ในระดับตำแหน่งเดียวกัน อย่างไรก็ดีทุกปีบริษัทฯ จัดให้มีการทวนสอบค่าตอบแทนระหว่างชายหญิง (Gender pay gap) โดยบุคคลภายนอก (3rd party) ซึ่งในปี 2567 ค่าตอบแทนเฉลี่ยระหว่างพนักงานหญิงและพนักงานชายในระดับพนักงาน (Non-Management Level) คิดเป็นสัดส่วน 1:1.09 ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวดีขึ้นกว่าปี 2566 ที่ผ่านมา

บริษัทได้กำหนดนโยบายการบริหารความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง โดยมีสาระสำคัญดังนี้

  • ผู้นำต้องพร้อมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของผู้อื่น
  • ส่งเสริมให้พนักงานกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
  • เสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานและความเคารพซึ่งกันและกัน สามารถอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความแตกต่าง
  • ยึดหลักการไม่เลือกปฏิบัติและมีความเสมอภาคในโอกาส อันรวมถึงการยกย่องชมเชยพนักงานอย่างเหมาะสม

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cpfworldwide.com/th/sustainability/policy/diversity_and_inclusion.pdf

นอกจากนี้ บริษัทยังสนับสนุนให้พนักงานทุกภาคส่วนเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ (สปก.) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสะท้อนเสียงของพนักงานสู่การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานและการบริหารจัดการด้านแรงงานอย่างมีส่วนร่วม โดยมีการเลือกตั้งอย่างโปร่งใส และมีสัดส่วนคณะกรรมการที่สูงกว่ากฎหมายกำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับขนาดของพนักงาน และครอบคลุมความหลากหลายในทุกมิติ ทั้งเรื่องเพศ สัญชาติ ศาสนา และความสามารถทางร่างกาย เปิดโอกาสในการเสนอแนะด้านสวัสดิการ การร้องเรียน และการบริหารจัดการด้านแรงงานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งในปี 2567 พนักงานของบริษัทได้รับผลประโยชน์จากการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะกับตัวแทนบริษัทแล้วร้อยละ 851 ของพนักงานในกิจการประเทศไทย นอกจากนี้บริษัทยังได้สนับสนุนกิจกรรม หรือให้ความสะดวกแก่แรงงานต่างชาติในประเด็นของความแตกต่างด้านภาษาเพิ่มเติมอีกด้วย เช่น ประกาศและล่ามสำหรับแรงงานต่างชาติที่อยู่ในสถานประกอบการ

จากการรับฟังเสียงของพนักงาน ส่งผลให้บริษัทฯ ได้ปรับปรุงสวัสดิการที่มากกว่ากฎหมายกำหนด บริษัทฯ ได้ปรับปรุงสวัสดิการที่มากกว่ากฎหมายกำหนด โดยอิงจากข้อเสนอแนะของพนักงาน เช่น การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การปรับปรุงโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีให้เหมาะสมตามปัจจัยเสี่ยง การให้สวัสดิการเงินยืมเพื่อการศึกษาสำหรับบุตรของพนักงานโดยไม่คิดดอกเบี้ย รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกัน เช่น กิจกรรมจากชมรมกีฬา การจัดสรรพื้นที่พักผ่อนและออกกำลังกาย การให้ความรู้ด้านสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ และการจัดฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามความเหมาะสม เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังดูแลเรื่องเวลาการปฏิบัติงาน วันหยุดประจำปี เช่น การลาพักร้อน ลากิจ ลาป่วย และอื่น ๆ อย่างเหมาะสมไม่น้อยกว่ากฎหมายกำหนด พร้อมดูแลให้พนักงานมีการกำหนดและใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิโดยได้รับค่าจ้าง (Paid annual leave) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริหารผ่านระบบการจัดการชั่วโมงการทำงาน และแพลตฟอร์ม HR-eXp อีกทั้ง เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการว่าจ้างหรือมีเหตุจำเป็นต้องเลิกจ้าง บริษัทฯ ดำเนินการแจ้งล่วงหน้าตามกฎหมาย เพื่อให้พนักงานมีเวลาเตรียมความพร้อม ยกเว้นในกรณีที่เป็นการเลิกจ้างเนื่องจากการกระทำความผิดร้ายแรงตามกฎหมาย

ตัวอย่างโครงการสำคัญที่ส่งเสริมความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยก

  1. โครงการชมรมซีพีเอฟ : สนับสนุนกิจกรรมผ่านชมรมกว่า 19 ชมรม เป็นช่องทางให้พนักงานได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำมาซึ่งการปรับปรุงสวัสดิการที่เหมาะสมกับทุกความแตกต่างของกลุ่มพนักงาน และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจ เช่น ชมรม LGBTQ+ จัดกิจกรรม Pride Month Celebration แสดงออกถึงการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ ตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมวันสตรีสากล เพื่อยกระดับบทบาทและศักยภาพของพนักงานหญิง สร้างความตระหนักถึงประวัติความมาของวันสตรีสากล และเปิดมุมมองแนวคิด ประสบการณ์จากผู้บริหารหญิงของ ซีพีเอฟ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างความสำเร็จของทั้งองค์กร และบุคคลไปพร้อมกันผ่านช่องทางต่างๆ เช่น email, CPF Connect, TikTok และ Facebook เป็นต้น ชมรม Happy Life, ชมรมครอบครัวอบอุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของพนักงาน เป็นต้น
  2. โครงการจ้างงานผู้พิการ: สนับสนุนการสร้างงานส่งเสริมการจ้างงานที่มีคุณค่า สำหรับ บุคคลผู้พิการ เพื่อเปิดโอกาสในการสร้างอาชีพและมีรายได้ที่มั่นคง ปัจจุบันกิจการในประเทศไทยจ้างงานผู้พิการ ทั้งหมด 722 คน ซึ่งมากกว่าที่กฎหมายกำหนด ถึง 12 คน นอกจากนี้ กิจการทั่วโลกได้จ้างงานพนักงานผู้พิการรวม 891 คน
  3. โครงการเถ้าแก่: มุ่งสร้างผู้นำรุ่นใหม่ผ่านเวทีแสดงศักยภาพ เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ทดลองทำธุรกิจจริง ภายใต้แนวคิด “ชี้แนะ ไม่ชี้นำ” โดยมีผู้บริหารคอยให้คำปรึกษา ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระและสร้างสรรค์ สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้าง ยอมรับความคิดเห็นจากทุกระดับ

นอกจากการส่งเสริมสิทธิและความเท่าเทียมในองค์กรแล้ว ซีพีเอฟยังมุ่งสร้างโอกาสที่เท่าเทียมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย ในห่วงโซ่อุปทาน เช่น การสร้างโอกาสเข้าถึงการศึกษาให้แก่เยาวชนไทย ภายใต้การขับเคลื่อนของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในหลากหลายมิติ ครอบคลุมด้านวิชาการ เกษตร และด้านวิชาชีพ ผ่านโครงการสำคัญ เช่น โครงการ Active Learning, โครงการ STEM : Coding, โครงการ Smart Kid-Englishเป็นต้น และ โครงการ Co-Creation พัฒนาทักษะ สร้างศักยภาพ ของนิสิต นักศึกษา ให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่เสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ด้าน STEM (Science Technology Engineering Mathematics) และดิจิทัล ควบคู่กับการปลูกฝังแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อนักศึกษาในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงาน สะท้อนถึงหลักการสามประโยชน์ที่บริษัทยึดถือ ได้แก่ การสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และบริษัท นำไปสู่การดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณภาพที่ยั่งยืน

1 ทั้งนี้อีกร้อยละ 15 คือ สถานประกอบการที่มีพนักงานน้อยกว่า 50 คน ได้รับการยกเว้นจากการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการตามกฎหมาย

การดำเนินการ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x