บริษัทตระหนักดีว่าการพัฒนาคู่ค้าธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน นำมาซึ่งโอกาสและความรับผิดชอบของบริษัทในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม ด้วยธุรกิจของบริษัทมีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์และการใช้วัตถุดิบ บริษัทจึงได้จัดทำ “นโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ” ในปี 2557 และดำเนินงานตามกรอบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบและยั่งยืนบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2558

ด้วยตระหนักถึงการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน บริษัทจึงยึดมั่นในการคัดเลือกคู่ค้าธุรกิจใหม่ และตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจที่มีนัยต่อความเสี่ยงของธุรกิจ มูลค่าการซื้อของบริษัท ความจำเป็นของวัตถุดิบต่อการผลิตสินค้า และคู่ค้าธุรกิจที่ไม่สามารถทดแทนได้ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท โดยการประเมินจะพิจารณาการจัดการด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ด้านสิ่งแวดล้อม และการบริหารความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งดำเนินการเป็นประจำทุกปี
นอกจากนี้ ซีพีเอฟได้ใช้แบบประเมินตนเองด้านความยั่งยืนสำหรับคู่ค้าธุรกิจที่รวมหลักการ 4P ของนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนฯ เป็นเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้าธุรกิจ เพื่อบริหารความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจัดหาวัตถุดิบของซีพีเอฟ โดยบริษัทได้ให้คู่ค้าธุรกิจหลักในกลุ่มวัตถุดิบหลักและวัตถุดิบรองในกิจการประเทศไทยประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนด้วยตนเองแล้วร้อยละ 100 ในปี 2561-2564 ตามเป้าหมายที่จะให้ร้อยละ 100 ของคู่ค้าธุรกิจหลักในกิจการประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยคู่ค้าในกลุ่มวัตถุดิบหลัก (วัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารสัตว์) และกลุ่มวัตถุดิบรอง (เครื่องปรุงและบรรจุภัณฑ์) ประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนด้วยตนเองสำหรับคู่ค้าธุรกิจ ภายในปี 2564 และได้ดำเนินการประเมินและทบทวนครบทุกกลุ่มวัตถุดิบของคู่ค้าธุรกิจในกิจการประเทศไทย เวียดนาม และจีน แล้วร้อยละ 100 ทั้งนี้ ซีพีเอฟมีแผนขยาย การประเมินความเสี่ยงไปยังคู่ค้าธุรกิจในกิจการต่างประเทศ เพิ่มมากขึ้นในปี 2565
สามารถศึกษารายละเอียดแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซอุปทานอย่างยั่งยืนของซีพีเอฟ หรือ CPF Supply Chain ESG Management Approach ได้ที่นี่