เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI

ซีพีเอฟตระหนักถึงความสำคัญและมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อลดปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร และส่งเสริมการนำไปใช้ประโยชน์ ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ครอบคลุมตั้งแต่การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปอาหาร ศูนย์กระจายสินค้า และช่องทางจำหน่ายอาหารและร้านอาหาร สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs) เรื่องการผลิต และการบริโภคอย่างยั่งยืน จึงกำหนดนโยบายการจัดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

จัดทำฐานข้อมูลการสูญเสียอาหาร อาหารส่วนเกิน และขยะอาหารสอดคล้องกับข้อกำหนด Food Loss & Waste Protocol

ตั้งแต่ปี 2563 ซีพีเอฟได้เริ่มศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลการสูญเสียอาหารเชิงปริมาณ และคุณภาพ ที่อ้างอิงตามแนวทางการเก็บข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาติ (FAO) เพื่อประเมินการสูญเสียอาหารและหามาตรการลดการสูญเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยมีโครงการนำร่องในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่สดและไข่ไก่ เพื่อหาจุดวิกฤตของการสูญเสียอาหาร (Hotspot) นำไปสู่การจัดทำโครงการเพื่อป้องกันและลดการสูญเสียอาหารให้น้อยลง

ลดการสูญเสียอาหาร อาหารส่วนเกิน และขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางการผลิต

มีกรอบการบริหารจัดการดังนี้

โครงการลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิต

บริษัทดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิต ได้แก่

  • โครงการระบบลำเลียงไข่อัจฉริยะ นำระบบอัตโนมัติเข้ามาควบคุมการลำเลียงไข่ เพื่อลดความเสียหายจากการลำเลียงไข่จากฟาร์มไปสู่โรงคัดไข่และจากกระบวนการคัดไข่เอง ซึ่งสามารถลดไข่บุบร้าวได้ประมาณร้อยละ 1 และเพิ่มรายได้จากไข่ไก่คุณภาพดีได้มากกว่า 14 ล้านบาทต่อปี

สนับสนุนการนำอาหารสูญเสีย อาหารส่วนเกิน และขยะอาหารมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์

โดยยึดมั่นบนมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์พลอยได้

  • นำชิ้นส่วนและส่วนประกอบต่างๆ ของสัตว์ เช่น เครื่องในสัตว์ หน้ากากหมู เศษตัดแต่ง เป็นต้น ไปจำหน่ายสดหรือแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สู่การบริโภคที่ปลอดภัย ได้แก่ เลือดหมูก้อนพลาสเจอร์ไรส์และน้ำมันหมู ตรา CP หนังปลาทอดกรอบ ตรา Chip Chip

การลดการสูญเสียอาหารสู่การสร้างคุณค่า

  • นำเครื่องใน ขนสัตว์ปีก และไข่ไก่ที่เสียหายในระหว่างการผลิตแปรรูปเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ซึ่งทำให้สามารถลดปริมาณของเสียจากกระบวนการผลิตได้เฉลี่ย 121,000 ตันต่อปี ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการกำจัดของเสียได้ 306,000 ตัน CO2 เทียบเท่าต่อปี
  • นำเปลือกไข่ไก่บดจากโรงงานแปรรูปไข่ไก่ ไปเป็นปุ๋ยหรือวัสดุปรับปรุงดินให้กับเกษตรกรรอบพื้นที่จังหวัดนครนายกซึ่งลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดในบ่อฝังกลบได้กว่า 1,000 ตันต่อปี สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 2,500 ตัน CO2 เทียบเท่าต่อปี นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุน การผลิต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย
  • บำบัดนํ้าทิ้งที่มีอินทรีย์วัตถุจากโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ ฟาร์ม และโรงคัดไข่ไก่ เช่น เลือดไก่ ไขมันไก่ และไข่ไก่เสียหายด้วยระบบก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตพลังงานจากก๊าซชีวภาพใช้ในกระบวนการผลิต ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้รวม 14,000 ตัน CO2 เทียบเท่าต่อปี

โครงการเครือข่ายความร่วมมือ

โครงการ “Circular Meal มื้อนี้เปลี่ยนโลก”

ซีพีเอฟร่วมกับมูลนิธิสโกลาร์ส ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) และบริษัท เก็บสะอาด จำกัด (GEPP) เปลี่ยนอาหารส่วนเกิน (Surplus Food) เป็นเมนูพร้อมรับประทาน อร่อย สะอาดปลอดภัยกว่า 90,000 มื้อ สร้างการเข้าถึงอาหารให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 เด็ก ผู้ยากไร้ และกลุ่มเปราะบาง พร้อมทั้งเก็บบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลังการบริโภคกว่า 7,000 ชิ้น กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ช่วยลดขยะอาหารได้มากกว่า 21 ตัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 24 ตัน CO2 เทียบเท่า

โครงการกินเกลี้ยงเลี้ยงโลก

ซีพีเอฟจัดกิจกรรมการสร้างพฤติกรรมการบริโภคอย่างรู้คุณค่า ไม่เหลือทิ้งเป็นขยะอาหาร เป็นการสนับสนุน UN SDG ข้อ 12.3 ในระดับบุคคล โดยริเริ่มในกลุ่มพนักงาน เริ่มต้นที่ตัวเอง และชักชวนบอกต่อสู่เพื่อน ขยายผลสู่ครอบครัวสังคมและประเทศ มีพนักงานที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยการโพสต์ภาพอาหารที่รับประทานหมดจานรวม 17,312 จาน ลดขยะอาหารได้รวมกว่า 1 ตัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 3 ตัน CO2 เทียบเท่า

cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x