เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI

ด้วยสถานการณ์โลกปัจจุบันที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทักษะและงานใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อัตราการจ้างงานที่มีคุณภาพมีการแข่งขันที่สูงขึ้น จึงเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ซีพีเอฟมุ่งมั่นที่จะเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาทักษะและศักยภาพอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และเห็นถึงโอกาสสำคัญที่จะส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา และคนในสังคม ซึ่งมีโอกาสเป็นกำลังบุคลากรที่สำคัญในอนาคต ได้มีองค์ความรู้ ทักษะ และศักยภาพที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

การพัฒนาบุคลากร

ซีพีเอฟมุ่งมั่นพัฒนาให้พนักงานมีความรู้ ทักษะ และความสามารถให้ครบทุกด้าน ตอบโจทย์โครงสร้างและอัตรากำลังคนขององค์กรที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยจะกำหนดเป็นแผนการพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนมีความพร้อมในการปฏิบัติงานทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ ทั้งนี้ บริษัทได้จัดทำโปรแกรมการเรียนรู้และพัฒนาพนักงาน แบ่งเป็น 4 ด้านสำคัญ ดังนี้

  1. โปรแกรมการพัฒนาความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วยหลักสูตรพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจในหน้าที่ความรับผิดชอบ การปฏิบัติตามหลัก ค่านิยม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ การกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณธุรกิจ และการลงโทษทางวินัย ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน หลักสูตรเพื่อพัฒนาความยั่งยืนองค์กร และเตรียมพร้อมสู่การทำงานรูปแบบดิจิทัล
  2. โปรแกรมการพัฒนาทักษะอนาคตที่มุ่งเน้นการพัฒนาระดับ Digital Literacy ของพนักงาน ทั้งในส่วนของ Hard skill เช่น Data Analytics, Robotics และ Soft skill เช่น Design thinking, Agile โดยมีหลักสูตรพัฒนา 4 ระดับตั้งแต่ระดับ Basic จนถึง Advanced เพื่อวางรากฐานและเสริมสร้างทักษะการใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลให้กับพนักงานในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรพัฒนาทักษะอนาคตด้านอื่นๆ ที่เน้นการพัฒนาความรู้และทักษะอนาคตควบคู่กับการยกระดับทักษะเฉพาะงานเพื่อสร้างทักษะที่จำเป็นในการทำงาน และมุ่งสร้างบุคลากรให้มีวิสัยทัศน์แบบสากล (Global Mindset) และความสามารถในการผนึกกำลัง (Synergy) เพื่อรองรับการเติบโตขององค์กรในอนาคต โดยมีพนักงานร้อยละ 34.87 หรือ 24,277 คน เข้าร่วมหลักสูตรพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลนี้ตั้งแต่ปี 2564-2565 ช่วยลดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้ให้กับองค์กรรวมประมาณ 670 ล้านบาท
  3. โปรแกรมการพัฒนาผู้นำ ด้วยเป้าหมายที่จะพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ จึงได้พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหัวหน้างาน ผู้จัดการทุกระดับ และผู้บริหาร เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทีมงานและทักษะในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ อีกทั้งได้คัดเลือกผู้มีศักยภาพสูง (Talents) เข้าสู่โครงการพัฒนาผู้นำเพื่อคัดเลือกบุคลากรเข้ามาร่วมเสริมกำลังธุรกิจ เตรียมความพร้อมสู่การเติบโตภายในองค์กรและช่วยให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน เช่น โครงการเถ้าแก่ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำตั้งแต่ปี 2561 - 2565 รวม 2,427 คน หรือร้อยละ 3.49 ของพนักงาน ซึ่งสร้างรายได้ให้กับองค์กรรวมประมาณ 145,000 ล้านบาท
  4. โปรแกรมการพัฒนาทักษะเฉพาะงาน ส่งเสริมการพัฒนาทักษะเฉพาะงาน (Technical skills) และการบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) ในแต่ละหน่วยธุรกิจให้มีระบบและมาตรฐานเดียวกัน ด้วยการจัดตั้งศูนย์การพัฒนาพนักงานตามกลุ่มวิชาชีพของหน่วยงาน หรือ Technical Academy และการสร้างสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Community) เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับงานที่รับผิดชอบอย่างแท้จริง และสามารถยกระดับความสามารถของพนักงานให้พร้อมต่อการเติบโตของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบยั่งยืน สร้างให้เกิดบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย หรือที่เรียกว่า Hybrid training มีทั้งรูปแบบ On-line On-site On-ground และ On-demand ซึ่งปรับให้เหมาะสมกับหลักสูตรการเรียนรู้แต่ละรายการ เน้นให้เกิดการเรียนรู้ นำไปปฏิบัติ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่าน E-Learning การเรียนสดผ่านระบบออนไลน์ (Virtual Training) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบกลุ่ม (Group Coaching) และการทำจริงที่หน้างาน (On-the-job Training) เป็นต้น

โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่บริษัทได้เปิดโอกาสให้ปรับรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับเนื้องานและสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองได้จากทุกที่ทุกเวลา ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ “อิ่มรู้” ที่ให้พนักงานสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และการพัฒนาทักษะ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงองค์ความรู้รูปแบบ On-demand Learning มากกว่า 900 หลักสูตร

ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์

ซีพีเอฟเปิดเผยตัวชี้วัดที่สำคัญด้านการพัฒนาบุคลากร เช่น จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยต่อปี ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการฝึกอบรมเฉลี่ยต่อปีของพนักงานประจำ และผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคล (Human Capital ROI)

ในปี 2565 ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลสำหรับกิจการประเทศไทยอยู่ที่ 6.05 บาท

cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x