บริษัทผลักดันการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มสัดส่วนการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ รวมถึงการจัดการและเพิ่มมูลค่าของเสีย/น้ำเสียให้เปลี่ยนมาเป็นพลังงาน ตั้งแต่ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์-แปรรูป และธุรกิจอาหารมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขณะเดียวกัน ยังส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบสถานประกอบการ เพื่อช่วยดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ด้วย ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงกำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อมต่อหน่วยการผลิตต่อหน่วยการผลิตลงร้อยละ 25 เทียบกับปีฐาน 2558 ภายในปี 2568
การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต
ซีพีเอฟวางแผนบริหารจัดการพลังงาน ตั้งแต่การออกแบบโรงงานการผลิต โดยพิจารณาทั้งประสิทธิภาพในการผลิตควบคู่กับการใช้ทรัพยากรในการเลือกใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงตรวจสอบ ดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในกระบวนการผลิต เรายังมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องด้วยการดำเนินการโครงการต่างๆ ได้แก่
- โครงการโรงไฟฟ้าระบบพลังงานความร้อนร่วม (Co-generation)
- โครงการปรับปรุงระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ
- โครงการเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างประสิทธิภาพสูง (LED Project)
การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน
- การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ บริษัทดำเนินโครงการ “ฟาร์มสุกรสีเขียว (Green Farm)” ในฟาร์มเลี้ยงสุกรของบริษัททั้งหมดและฟาร์มส่งเสริม (Contract Farming) โดยนำน้ำเสียและมูลสัตว์ไปบำบัดผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งได้ก๊าซชีวภาพเป็นผลพลอยได้ที่สามารถนำไปผลิตไฟฟ้าเพื่อนำกลับไปใช้ภายในฟาร์ม ทดแทนการซื้อไฟฟ้าจากแหล่งภายนอก นอกจากนี้ ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากก๊าซชีวภาพได้อีกด้วย จากความสำเร็จของการเปลี่ยนมูลสัตว์ไปเป็นพลังงานในโครงการดังกล่าว จึงมีการนำแนวทางดังกล่าวไปขยายผลต่อในธุรกิจไก่ไข่ตั้งแต่ปี 2560
- การใช้พลังงานจากชีวมวลสำหรับหม้อไอน้ำ บริษัทมีความพยายามในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานจากชีวมวลทดแทนพลังงานจากถ่านหินในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เราจึงได้ตั้งเป้าหมายยกเลิกการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงสำหรับกิจการในประเทศไทยในปี 2565 และมีแผนขยายไปยังกิจการในต่างประเทศ
- การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในโรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานอาหารแปรรููป โรงงานอาหารสำเร็จรูป และศููนย์กระจายสินค้า ติดตั้งแผง Solar PV เพื่่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในกระบวนการผลิต โดยในปี 2564 มีกำลังการผลิตทั้งหมด 20 เมกะวัตต์
พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ (Climate-friendly Products)
นวัตกรรมอาหารสัตว์รักษ์สิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่ปี 2560 ซีพีเอฟพัฒนาอาหารสุกรอาหารสุกรรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สามารถลดปริมาณไนโตรเจนส่วนเกินที่สุกรขับทิ้งออกมาในรูปของสิ่งขับถ่ายในสุกรถึงร้อยละ 20-30 ในปี 2563 เราต่อยอดนวัตกรรมดังกล่าวในการพัฒนาสูตรอาหารไก่ไข่ โดยการปรับสมดุลชนิดของแหล่งโปรตีนร่วมกับการคัดเลือกเอนไซม์ (Enzyme) ที่เหมาะสมกับสัตว์ในแต่ละช่วงวัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารที่สัตว์กินเข้าไป ส่งผลต่อการเติบโตของสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง ขณะเดียวกันจะช่วยลดการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ปลาป่นและกากถั่วเหลืองที่มากเกินความต้องการของสัตว์และกำจัดออกมาเป็นมูลสัตว์ ทั้งยังช่วยในการลดกลิ่นที่เกิดจากมูลสัตว์ได้อีกด้วย ปริมาณไนโตรเจนส่วนเกินในมููลไก่ไข่ลดลงร้อยละ 12-13
ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Products)
ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฉลากลดโลกร้อนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบกประกอบด้วย อาหารไก่เนื้อ ไก่มีชีวีต เป็ดมีชีวิต สุกรขุน และผลิตภัณฑ์เนื้อไก่สด เนื้อเป็ดสด และเนื้อหมูสด

ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำทั้งหมดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า
1,483,000 ตัน CO2 เทียบเท่า
โดยคำนวณจากน้าหนักผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฉลากลดโลกร้อนและขายได้ในปี 2564 คูณกับปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ซีพีเอฟเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยสำหรับผลิตภัณฑ์ซ๊พีเอฟที่ส่งออก หรือค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ซีพีเอฟในปีฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ซีพีเอฟที่ขายในประเทศไทย
*อ้างอิงจากค่า Emission Factor โดย อบก
การสนับสนุนกลไกการลดก๊าซเรือนกระจก
การใช้พลังงานและการจัดการของเสียเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซีพีเอฟจึงได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การจัดการมูลสัตว์และน้ำเสีย และการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนไบโอดีเซล ก๊าซชีวภาพและแสงอาทิตย์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง โดยได้ขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) กับ อบก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

นอกจากนี้ ซีพีเอฟได้รับใบประกาศเกียรติคุณจาก อบก. ภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) ประเภทโครงการด้านป่าไม้และการเกษตร จากโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธงและพื้นที่สีเขียวในฟาร์มและโรงงาน และโครงการด้านพลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนี้

ความร่วมมือในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในห่วงโซ่อุปทาน
ซีพีเอฟมีระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปจนถึงพื้นที่เพาะปลูกเพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นมาจากพื้นที่ที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งบริษัทดำเนิน “โครงการเกษตรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อยกระดับการทำการเกษตรที่สามารถเพิ่มผลผลิตไปพร้อมกับการลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งการปรับการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับพื้นที่และการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี การปลูกพืชคลุมดิน การลดการไถพรวนหรือเผาต่อซัง เป็นต้น ในปี 2564 มีเกษตรกร เข้าร่วมโครงการกว่า 11,150 ราย รวมพื้นที่กว่า 250,000 ไร่ (40,000 เฮกตาร์)



