เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ด้วยตระหนักถึงหน้าที่สำคัญในการร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการลดลงของพื้นที่ป่าทั่วโลกอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ได้ถูกนำมาปรับใช้เป็นพื้นที่ทางการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ บริษัทจึงได้ประกาศ ความมุ่งมั่นว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและการต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า และกำหนดเป้าหมายในการจัดซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรหลักที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด ปลาป่น น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง และมันสำปะหลัง 100% จากการจัดหาทั่วโลกของซีพีเอฟจะต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้และมาจากพื้นที่ที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า ภายในปี 2573 ซึ่งเป็นการต่อยอดการดำเนินงานในปี 2563
นอกจากนี้ บริษัทได้ระบุรายการวัตถุดิบหลักที่มีความเสี่ยงต่อประเด็นการบุกรุกพื้นที่ป่า ซึ่งได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และมันสำปะหลัง เป็นต้น โดยได้วางแนวทางการตรวจสอบพื้นที่การเกษตรเพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัตถุดิบจะไม่มาจากแหล่งที่บุกรุกหรือตัดไม้ทำลายป่า
การจัดหาวัตถุดิบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ซีพีเอฟ ได้ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Corn Traceability System) เพื่อตรวจสอบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์มาจากแหล่งเพาะปลูกที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าปราศจากการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า และไม่เผาตอซัง
การลงทะเบียนคู่ค้าในระบบตรวจสอบย้อนกลับเป็นวิธีที่บริษัทใช้ตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชน เอกสารสิทธิ์ และกิจกรรมทางการเกษตรของเกษตรกรผ่านแพลตฟอร์มสื่อสารออนไลน์เพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุดิบทางการเกษตรได้รับการตรวจสอบย้อนกลับและบริษัทสามารถบรรลุความมุ่งมั่นในการจัดหาวัตถุดิบที่มาจากแหล่งที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า
ขั้นตอนในการดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับประกอบด้วย
  1. สื่อสารเรื่องแนวทางการตรวจสอบย้อนกลับกับเกษตรกรแบบตัวต่อตัว
  2. ให้ความรู้และแนะนำระบบตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัลผ่านคู่มือ ที่อธิบายกระบวนการได้แก่ ให้เกษตรกรลงทะเบียนและยื่นบัตรประจำตัวประชาชน เอกสารสิทธิ์ และตำแหน่งที่ดินทำการเกษตร เพื่อบันทึกข้อมูลและตรวจสอบว่าที่ดินอยู่ในพื้นที่ถูกกฎหมายตามที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของประเทศไทยได้กำหนดและไม่บุกรุกพื้นที่ป่าไม้ในการทำการเกษตร
  3. บริษัทจะทำการตรวจสอบความถูกต้องรอบด้านบนพื้นฐานของเอกสาร เกษตรกรที่ผ่านการทวนสอบจะสามารถใช้ระบบได้
  4. เกษตรกรที่ได้รับการอนุมัติจะอยู่ในระบบการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุดิบทางการเกษตรได้รับการตรวจสอบย้อนกลับและบริษัทสามารถบรรลุความมุ่งมั่นในการจัดหาวัตถุดิบที่มาจากแหล่งที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า นอกจากนี้เกษตรกรจะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงข้อมูลบางประการ ยกตัวอย่างเช่น ราคาพืชผลทางการเกษตรบางชนิด และการพยากรณ์สภาพอากาศแบบเรียลไทม์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปลูกและดูแลผลิตผล และการซื้อขายให้แก่เกษตรกร
ในปี พ.ศ. 2565 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ร้อยละ 100 ของกิจการประเทศไทย ผ่านการตรวจสอบด้วยระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และบริษัทยังได้ดำเนินการยกระดับการจัดการข้อมูลให้เชื่อมต่อเข้าสู่กระบวนการผลิตในโรงงานผลิตอาหารสัตว์ของซีพีเอฟ ด้วยเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลแบบบล็อกเชน (Blockchain Technology) เพื่อพัฒนาความรวดเร็วในการตรวจสอบย้อนกลับวัตถุดิบทางการเกษตรถึงพื้นที่เพาะปลูก และเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่ามาจากแหล่งที่รับผิดชอบ/ยั่งยืน/ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า และสอดรับกับการเป็น “องค์กรแห่งนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี” ในทุกกระบวนการธุรกิจของซีพีเอฟ
โดยในปี 2573 บริษัทมีเป้าหมายให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ร้อยละ 100 ของกิจการทั่วโลกสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงพื้นที่เพาะปลูกด้วยระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Corn Traceability System) ซึ่งในปีปัจจุบันทางบริษัทได้ขยายการดำเนินการไปยังกิจการต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์ โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงพื้นที่เพาะปลูกแล้วกว่าร้อยละ 51.80 ของปริมาณการจัดซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของกิจการทั่วโลกของซีพีเอฟ
การจัดหาวัตถุดิบกากถั่วเหลือง
ซีพีเอฟได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลแหล่งกำเนิดของเมล็ดถั่วเหลืองซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของกากถั่วเหลือง เพื่อจำแนกความเสี่ยงต่อการได้มาจากพื้นที่ที่บุกรุกป่า และได้ศึกษาแนวทางการจัดหากากถั่วเหลืองอย่างรับผิดชอบ โดยนำข้อมูลที่ได้มาประยุกต์และปรับให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจและกำหนดเป้าหมายเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า
ในปี พ.ศ. 2573 ทางบริษัทมีเป้าหมายให้ ร้อยละ 100 ของการจัดซื้อวัตถุดิบกากถั่วเหลืองสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงสถานที่ผลิต ประเทศแหล่งกำเนิดและรัฐที่เพาะปลูกถั่วเหลือง โดยบริษัทมุ่งมั่นที่จะจัดหากากถั่วเหลืองที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งกำเนิดต้นทางที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า
และ ปี พ.ศ. 2565 กากถั่วเหลืองที่ซีพีเอฟจัดหาสำหรับกิจการทั่วโลกกว่าร้อยละ 46.34 สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงสถานที่ผลิต ประเทศแหล่งกำเนิดและรัฐที่เพาะปลูกถั่วเหลือง โดยได้ร่วมมือกับคู่ค้าธุรกิจในการตรวจสอบข้อมูลหรือเอกสารที่แสดงแหล่งที่มาประกอบการจัดซื้อวัตถุดิบกากถั่วเหลือง
การจัดหาวัตถุดิบน้ำมันปาล์ม
ซีพีเอฟจัดหาน้ำมันปาล์มที่ดี มีคุณภาพ เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับธุรกิจอาหารสัตว์และธุรกิจอาหาร โดยจัดหาน้ำมันปาล์มที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างเป็นระบบ หรือมาจากแหล่งผลิตที่ได้รับรองภายใต้มาตรฐานระดับสากล อาทิ มาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืน (Roundtable on Sustainable Palm Oil: RSPO) เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2573 ซีพีเอฟ มีความมุ่งมั่นในการขยายผลการจัดหาน้ำมันปาล์มที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ร้อยละ 100 หรือมาจากแหล่งผลิตที่ได้รับรองภายใต้มาตรฐานระดับสากล อาทิ RSPO ไปยังกิจการต่างประเทศอีกด้วย
ในส่วนการจัดหาน้ำมันปาล์มดำเนินการจัดหาได้เป็นอย่างดีตามแผนงานจนถึงในปี พ.ศ. 2565 ซีพีเอฟได้จัดหาน้ำมันปาล์มที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างเป็นระบบ ทั้งสำหรับธุรกิจอาหารสัตว์และธุรกิจอาหาร เป็นดังนี้
  • น้ำมันปาล์มสำหรับธุรกิจอาหารสัตว์ร้อยละ 100 ของกิจการประเทศไทยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงโรงงานสกัดน้ำมัน
  • น้ำมันปาล์มสำหรับธุรกิจอาหาร ร้อยละ 79 ของกิจการประเทศไทย มาจากแหล่งผลิตที่ได้รับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืน (RSPO)
การจัดหาวัตถุดิบปลาป่น
ซีพีเอฟจัดหาปลาป่นเพื่อเป็นวัตถุดิบหนึ่งในการผลิตอาหารสัตว์และเป็นวัตถุดิบชนิดเดียวที่เชื่อมโยงธุรกิจของบริษัทกับการประมง ที่พบว่ามีความเสี่ยงในด้านการปฏิบัติแรงงานและความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทะเล ดังนั้น ในฐานะผู้นำด้านการเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร บริษัทจึงมุ่งมั่นสนับสนุนการจัดหาปลาป่นอย่างยั่งยืน ภายใต้ “ข้อกำหนดการจัดหาปลาป่น” ของบริษัทซึ่งกำหนดแนวทางการจัดหาจาก 2 แหล่งที่มาประกอบด้วย
  1. ผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ (By-Product) เช่น โรงงานซูริมิ โรงงานผลิตทูน่ากระป๋อง โรงงานผลิตลูกชิ้นปลา ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน MarinTrust หรือ MarinTrust Improver ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับ Code of Conduct for Responsible Fisheries ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) หรือ ต้องไม่เป็นผลพลอยได้จากพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตามนิยามของบัญชีแดงขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (World Conservation Union : IUCN Red List of Threatened Species) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้โดยหน่วยงานภายนอก (Third Party)
  2. ผลพลอยได้จากการทำประมง (By-Catch) ซึ่งปัจจุบันมีมาตรฐานสากลด้านความยั่งยืนและทวนสอบย้อนกลับของปลาป่นที่ได้รับการยอมรับระดับสากล คือ มาตรฐาน MarinTrust ซึ่งรับรองโดยองค์กรปลาป่นสากล หรือสามารถตรวจสอบได้โดยกลไกตรวจสอบที่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่ หรือผู้แทนจากกรมประมง ผู้ประกอบการ ชุมชนที่เกี่ยวข้อง ผู้บริโภค และนักวิชาการ เป็นต้น
โดย ณ ปี 2565 บริษัทได้ทำการจัดหาปลาป่นเพื่อเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหารสัตว์น้ำ ภายใต้”ข้อกำหนดการจัดหาปลาป่น” สำหรับกิจการประเทศไทยและกิจการต่างประเทศ เป็นดังนี้
  • ธุรกิจอาหารสัตว์กิจการประเทศไทย: ปลาป่นที่เป็นวัตถุดิบผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูป (By-Product) ร้อยละ 100 ผ่านการตรวจสอบและรองรับ “ข้อกำหนดการจัดหาปลาป่น” ของบริษัท ดูตัวอย่างสายพันธุ์ปลาได้ที่นี่
  • ธุรกิจอาหารสัตว์กิจการประเทศเวียดนาม:
    • ปลาป่นที่เป็นวัตถุดิบผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูป (By-Product) ร้อยละ 56.91 ผ่านการตรวจสอบและรองรับ “ข้อกำหนดการจัดหาปลาป่น” ของบริษัท
    • ปลาป่นที่เป็นวัตถุดิบผลพลอยได้จากการทำประมง (By-Catch) ร้อยละ 12.93 ผ่านการตรวจสอบและรองรับ “ข้อกำหนดการจัดหาปลาป่น” ของบริษัท
  • ธุรกิจการผลิตอาหารสัตว์กิจการประเทศอื่นๆ ทั่วโลก: ซีพีเอฟได้ดำเนินการจัดหาปลาป่นที่เป็นวัตถุดิบผลพลอยได้ทั้งจากโรงงานแปรรูป (By-Product) และวัตถุดิบผลพลอยได้จากการทำประมง (By-Catch) ได้แล้วกว่าร้อยละ 56.61 ของปริมาณการจัดซื้อปลาป่นในกิจการทั่วโลก ที่ผ่านการตรวจสอบและรองรับ “ข้อกำหนดการจัดหาปลาป่น” ของบริษัท
การดำเนินการ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x